เกี่ยวกับฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 3 สิงหาคม - 7 สิงหาคม 2552

3 สิงหาคม 2552 ตัดกระดาษที่จะมาทำเป็นหัวกระดาษให้ผู้กู้ทั้งรายเก่ารายใหม่เขียนรายละเอียด นำมารวมกับสัญญาที่จะให้เซ็น
4 สิงหาคม 2552 ตัดกระดาษที่จะมาทำเป็นหัวกระดาษให้ผู้กู้ทั้งรายเก่ารายใหม่เขียนรายละเอียด นำมารวมกับสัญญาที่จะให้เซ็น
5 สิงหาคม 2552 แยกเอกสารเป็นห้อง ๆ เช็คความถูกต้องของเอกสารว่านักเรียนส่งเอกสารสัญญาครบหรือไม่ ถ้าเอกสารไม่ครบให้โทรตามนักเรียนให้นำเอกสารมาส่งให้ครบก่อนที่ระบบกยศ.จะปิด
6 สิงหาคม 2552 แยกเอกสารเป็นห้อง ๆ เช็คความถูกต้องของเอกสารว่านักเรียนส่งเอกสารสัญญาครบหรือไม่ ถ้าเอกสารไม่ครบให้โทรตามนักเรียนให้นำเอกสารมาส่งให้ครบก่อนที่ระบบกยศ.จะปิด
7 สิงหาคม 2552 โรงเรียนพณิชยการสยามได้จัดกิจกรรมตลาดนัดพณิชยการสยามให้นักเรียนนักศึกษานำของมาขาย

สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 27 กรกฎาคม - 31 กรกฎาคม 2552

27 กรกฏาคม 52 รับเอกสารแล้วเข้าสู่ระบบ e-studentloan กรอกข้อมูลค่าเทอมของนักเรียน กรอกรายละเอียดสัญญาเงินกู้ทางอินเทอร์เน็ตตามรายละเอียดที่นักเรียนนำมาให้ ปริ้นท์สัญญา2 ฉบับ เข้าระบบของผู้ปฏิบัติการเพื่อยืนยัน ปริ้นท์สัญญาอีก 2 ฉบับเอามารวมเข้ากับเอกสารที่ให้มา เพื่อรอแยกห้อง และรับเอกสารของนักเรียนที่จะขอกู้ในรอบ 2 ที่ระบบทางอินเทอร์เน็ตของทางกยศ.เปิดให้เป็นครั้งที่ 2
28 กรกฏาคม 52 รับเอกสารแล้วเข้าสู่ระบบ e-studentloan กรอกข้อมูลค่าเทอมของนักเรียน กรอกรายละเอียดสัญญาเงินกู้ทางอินเทอร์เน็ตตามรายละเอียดที่นักเรียนนำมาให้ ปริ้นท์สัญญา2 ฉบับ เข้าระบบของผู้ปฏิบัติการเพื่อยืนยัน ปริ้นท์สัญญาอีก 2 ฉบับเอามารวมเข้ากับเอกสารที่ให้มา เพื่อรอแยกห้อง และรับเอกสารของนักเรียนที่จะขอกู้ในรอบ 2 ที่ระบบทางอินเทอร์เน็ตของทางกยศ.เปิดให้เป็นครั้งที่ 2
29 กรกฏาคม 52 แจ้งให้นักเรียนทราบว่าพรุ่งนี้จะเปิดรับเอกสารเป็นวันสุดท้ายให้นักเรียนนักศึกษารีบมาส่งเอกสารให้ครบเพราะระบบทางอินเทอร์เน็ตของกยศ.จะปิดระบบ รับเอกสารและเช็คเอกสารเพื่อกรอกค่าเทอมของนักเรียน และปริ้นท์สัญญา 2ฉบับ และเข้าระบบผู้ปฏิบัติการเพื่อยืนยัน ปริ้นท์สัญญา 2 ฉบับ รวบรวมกับเอกสารที่นำมาให้ คัดแยกเอกสารเป็นห้อง ๆ
30 กรกฏาคม 52 หัวหน้าฝ่ายเงินกู้กำหนดวันเซ็นสัญญาเงินกู้ 2 รอบคือในวันจันทร์ที่ 10 และวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2552 เพื่อให้ผู้ปกครองสะดวกในการเลือกที่จะมาวันใดก็ได้ใน 2 วันนี้ รับเอกสารที่นักเรียนนำมาส่งให้เพื่อกรอกรายละเอียดสัญญาต่าง ๆตามเอกสารที่นำมาให้ ปริ้นท์สัญญา 2 ฉบับ เข้าระบบผู้อำนวยการเพื่อประกาศรายชื่อและยืนยันข้อมูลของนักเรียน นำเอกสารปริ้นท์สัญญา 2 ฉบับ รวมกับเอกสารที่ให้มา รอแยกเอกสารเป็นห้อง ๆ
31 กรกฏาคม 52 ตัดกระดาษที่จะนำมาทำหัวกระดาษเพื่อให้ผู้กู้รายเก่ารายใหม่กรอกรายละเอียด

สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 20 กรกฎาคม - 24 กรกฎาคม 2552

20 กรกฎาคม 52 รับเอกสารเงินกู้ที่ยังไม่ได้ส่ง ทำการปริ้นท์สัญญา เข้าระบบของผู้อำนวยการเพื่อประกาศรายชื่อ เข้าระบบของผู้ปฏิบัติการ กรอกจำนวนเงินค่าเทอมของในภาคเรียนที่ 1 และปริ้นท์สัญญาออกมาเพื่อนำมาให้เซ็นสัญญาและนำเอกสารที่ปรื้นท์ออกมารวมเข้ากับเอกสารที่นำมาให้
21 กรกฎาคม 52 รับโทรศัพท์เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับเงินกู้ที่ผู้ปกครองโทรมาสอบถาม รับเอกสารที่ล่าช้า กรอกรายละเอียดปริ้นท์สัญญาออกมา 2ใบ เข้าสู่ระบบของผู้อำนวยการเพื่อประกาศรายชื่อและเข้าสู่ระบบของผู้ปฏิบัติการเพื่อกรอกจำนวนเงินค่าเทอม ค่ากิจกรรม ในภาคเรียนที่ 1 และปริ้นท์สัญญาออกมา2 ใบเพื่อนำมาให้เซ็นในวันที่นัดเซ็นสัญญา และนำเอกสารที่ปริ้นท์ออกมารวมเข้ากับเอกสารที่นักเรียนนำมาให้ เก็บรวมรวมไว้เพื่อรอคัดแยก
22 กรกฎาคม 52 รับเอกสารที่ล่าช้า กรอกรายละเอียดและปริ้นท์สัญญา 2 ใบและเข้าสู่ระบบของผู้อำนวยการเพื่อประกาศรายชื่อและเข้าสู่ระบบของผู้ปฏิบัติการเพื่อกรอกจำนวนเงินค่าเทอมค่ากิจกรรมในภาคเรียนที่ 1 และปริ้นท์สัญญา 2 ใบเพื่อนำมาให้นักเรียนเซ็นในวันที่นัดเซ็นสัญญา และนำเอกสารที่ปริ้นท์ออกมารวมเข้ากับเอกสารที่นักเรียนนำมาให้ นำเก็บรวมรวมไว้เพื่อคัดแยก
23 กรกฎาคม 52 รับเอกสารที่ล่าช้า กรอกรายละเอียดและปริ้นท์สัญญา 2 ใบ และเข้าสู่ระบบของผู้อำนวยการเพื่อประกาศรายชื่อและเข้าสู่ระบบของผู้ปฏิบัติการเพื่อกรอกจำนวนเงินค่าเทอมค่ากิจกรรมในภาคเรียนที่ 1 และปริ้นท์สัญญา2 ใบเพื่อนำมาให้เซ็นในวันที่นัดเซ็นสัญญา และนำเอกสารที่ปริ้นท์ออกมารวมเข้ากับเอกสารที่นำมาให้ เก็บรวมรวมไว้เพื่อรอการคัดแยก
24 กรกฎาคม 52 รับเอกสารที่ล่าช้า กรอกรายละเอียดและปริ้นท์สัญญา 2 ใบ และเข้าสู่ระบบของผู้อำนวยการเพื่อประกาศรายชื่อและเข้าสู่ระบบของผู้ปฏิบัติการเพื่อกรอกจำนวนเงินค่าเทอมค่ากิจกรรมในภาคเรียนที่ 1 และปริ้นท์สัญญา2 ใบเพื่อนำมาให้เซ็นในวันที่นัดเซ็นสัญญา และนำเอกสารที่ปริ้นท์ออกมารวมเข้ากับเอกสารที่นำมาให้ เก็บรวมรวมไว้เพื่อรอการคัดแยก

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รายละเอียดการฝึกงานสัปดาห์ที่ 5 ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม - 17 กรกฎาคม 2552

13 กรกฎาคม 2552 รับเอกสารเงินกู้และบันทึกเอกสารผ่านทางเว็บไซต์ของกยศ.ปริ้นท์เอกสารสัญญาออกมาจำนวน 2 ชุด(หน้า-หลัง)
14 กรกฎาคม 2552 รับเอกสารเงินกู้ บันทึกเอกสารผ่านทางเว็บไซต์ของกยศ.ตรวจสอบเอกสารและสมุดบัญชีว่าใช้ได้หรือไม่ ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องให้นักเรียนนำกลับไปและนำมาให้ใหม่ในวันรุ่งขึ้น หากนักเรียนคนใดยังไม่มีสมุดบัญชีให้นำเอกสารของทางโรงเรียนไปทำการเปิดบัญชีของธนาคารกรุงไทยโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และปริ้นท์สัญญาเงินกู้ออกมาจำนวน 2 ฉบับและนำมารวมกับเอกสารที่นักเรียนนำมาส่ง
15 กรกฏาคม 2552 รับเอกสารเงินกู้ บันทึกเอกสารผ่านทางเว็บไซต์ของกยศ.ตรวจสอบเอกสารและสมุดบัญชีว่าใช้ได้หรือไม่ ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องให้นักเรียนนำกลับไปและนำมาให้ใหม่ในวันรุ่งขึ้น หากนักเรียนคนใดยังไม่มีสมุดบัญชีให้นำเอกสารของทางโรงเรียนไปทำการเปิดบัญชีของธนาคารกรุงไทยโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ปริ้นท์สัญญาเงินกู้ออกมาจำนวน 2 ฉบับแล้วนำมารวมกับเอกสารที่นักเรียนนำมาส่งก่อนหน้านี้ นำเอกสารที่ได้รับมาทำการตรวจเช็คว่านักเรียนนักศึกษาคนใดบ้างยังไม่นำเอกสารมาส่งเพื่อจะดำเนินการติดตามให้นักเรียนนักศึกษานำเอกสารมาส่ง แยกเอกสารเป็นระดับปวช - ปวส รายเก่า รายใหม่ และแยกกลุ่มเรียน
16 กรกฏาคม 2552 รับเอกสารเงินกู้ที่ส่งมาทำการบันทึกเอกสารผ่านทางเว็บไซต์ของกยศ. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและสมุดบัญชี ปริ้นท์เอกสารออกมาจำนวน 2 ชุดและนำไปรวมกับเอกสารที่นักเรียนส่งมา ตรวจเช็คว่าได้ทำการส่งแล้ว และนำเอกสารแยกเป็นระดับชั้นตามที่ได้ทำการแยกไว้
17 กรกฎาคม 2552 รับเอกสารเงินกู้ที่ส่งมาทำการบันทึกเอกสารผ่านทางเว็บไซต์ของกยศ. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและสมุดบัญชี ปริ้นท์เอกสารจำนวน 2 ชุดนำไปรวมกับเอกสารที่ส่งมา ตรวจเช็คว่าส่งเรียบร้อยแล้ว และนำไปแยกเข้ากองที่แยกไว้แล้ว เวลา 15.00 น. เข้ารับการอบรมเรื่อง "ชีวิตกับการทำงาน" บรรยายโดยอาจารย์อมรเทพ หวังเทพ ณ อาคารอาจารย์ประเสริฐ - อาจารย์สงุ่น เทพพิทักษ์ ชั้น 4 จนถึงเวลา 16.30 น.

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รายละเอียดการฝึกงานสัปดาห์ที่ 4 ระหว่างวันที่ 6 กรกฏาคม - 10 กรกฏาคม 2552

วันที่ 6 กรกฎาคม 2552 หยุดเนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ
วันที่ 7 กรกฎาคม 2552 หยุดเนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ
วันที่ 8 กรกฎาคม 2552 หยุดเนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ
วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 กรอกจำนวนเงินลงในแบบฟอร์มเงินกู้ของผู้กู้ทั้งรายเก่าและรายใหม่ และทำการปริ้นท์สัญญาออกมาเพื่อนำมาคัดแยกเพื่อรอการทำสัญญา รับโทรศัพท์ตอบคำถามเกี่ยวกับเงินกู้ ตรวจเช็คเอกสารเงินกู้ชุดเก่าที่นักเรียนนักศึกษายังส่งไม่ครบมากรอกรายละเอียดเพื่อจะได้ทำการกรอกจำนวนเงินได้
วันที่ 10 กรกฎาคม 2552 กรอกจำนวนเงินลงในแบบฟอร์มเงินกู้ของผู้กู้ทั้งรายเก่าและรายใหม่และทำการปริ้นท์สัญญาออกมา เวลา 15.00 น. ได้เข้ารับการอบรมเรื่อง "ศิลปะเพื่อการบริการ" ณ อาคาร อาจารย์ประเสริฐ - อาจารย์สงุ่น เทพพิทักษ์ ชั้น 4 ร

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รายละเอียดการฝึกงานประจำวันที่ 29 - 3 กรกฎาคม 2552

วันที่ 29 มิถุนายน 2552 รับโทรศัพท์ของนักเรียนนักศึกษาที่โทรมาสอบถามรายละเอียดเงินกู้ คีย์ข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา จัดเรียงเอกสาร
วันที่ 30 มิถุนายน 2552 รับเอกสารจากนักเรียนนักศึกษาตรวจสอบความถูกต้อง คีย์วงเงิน รับโทรศัพท์ของนักเรียนนักศึกษาที่โทรมาสอบถามความคืบหน้าของเงินกู้
วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 จัดเรียงเอกสารของนักเรียนนักศึกษา คีย์ข้อมูลนักศึกษาที่นำเอกสารมาส่งใหม่
วันที่ 2 กรกฎาคม 2552 คีย์เอกสารสัญญากู้เงินเรียน รับเอกสารของนักเรียนนักศึกษา คีย์วงเงินนักศึกษาที่ตกหล่น
วันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ปริ้นใบสัญญาเรียนลำดับใบสัญญาคมลำดับชื่อของนักเรียนนักศึกษา คีย์ข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา รับเอกสารจากนักเรียนนักศึกษา

รายละเอียดการฝึกงานประจำวันที่ 22- 26 มิถุนายน 2552

วันที่ 22 มิถุนายน 2552 ตรวจสอบเอกสารที่นักเรียนนักศีกษานำมาส่ง จัดแยกห้อง คีย์ขอมูลของนักศึกษา
วันที่ 23 มิถุนายน 2552 ติดประกาศรายชื่อนักเรียน นักศึกษาที่เอกสารเอกสารไม่ครบ เอกสารมีปัณหา รับเอกสารที่นักเรียนนักศีกษานำมาส่ง คีย์ข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา
วันที่ 24 มิถุนายน 2552 จัดแยกเอกสารของนักศีกษา ผู้กู้เก่า ผู้กู้ใหม่ เก่าจากที่อื่น เก่าเลื่อนลำดับชั้น รับเอกสารที่นักเรียนนักศึกษานำมาส่ง คีย์ข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา
วันที่ 25 มิถุนายน 2552 คีย์ข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา รับเอกสารที่นักศึกษานำมาส่ง ตรวจสอบเอกสาร จักเอกสารเข้าแฟ้ม
วันที่ 26 มิถุนายน 2552 รับเอกสาร สำเนาหน้าสมุดธนาคารกรุงไทยของนักเรียนนักศึกษารายเก่ามาส่ง ตรวจสอบเอกสาร เรียงลำดับที่ของเอกสารให้ตรงกับรายชื่อ คีย์ข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รายละเอียดการฝึกงานประจำวันที่ 15 - 19 มิถุนายน 2552

15 มิถุนายน 2552 ค้นหารายชื่อนักศึกษาเงินกู้จากฐานข้อมูลโรงเรียน และรับแบบคำขอเอกสารเงินกู้
16 มิถุนายน 2552 รับแบบคำขอเอกสารเงินกู้ และค้นหารายชื่อนักเรียนนักศึกษาทั้งระดับปวช และ ปวส
แล้วนำมาบันทึกบนเอกสารของนักเรียนนักศึกษาว่าอยู่สาขาใด กลุ่มเรียนใด รอบเวลาใด
17 มิถุนายน 2552 ค้นหารายชื่อนักเรียนนักศึกษาแล้วนำไปเขียนบนหัวกระดาษเอกสารเงินกู้ของนักเรียนนักศึกษา เพื่อให้ทราบกลุ่มเรียน สาขา รอบเวลาที่เรียน
18 มิถุนายน 2552 คัดแยกเอกสารเป็นกลุ่มต่าง ๆ ทั้งระดับปวช ปวส เพื่อสะดวกในการค้นหา รับเอกสารแบบคำขอเอกสารเงินกู้ของนักเรียน นักศึกษาและทำการบันทึกรายละเอียดของผู้กู้
19 มิถุนายน 2552 ยื่นแบบคำขอกู้ของนักเรียนนักศึกษาทางอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์ของกยศ. ของนักเรียนนักศึกษาทั้ง 2 ระดับชั้น

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายมหาราษฎร์ มีแก้ว
ชื่อเล่น นาย
เพื่อนเรียกว่า จรวด
อายุ 26 ปี
เกิด 17/06/2526
name maharat surname mekeaw
nickname nine , jaroud
สถานะภาพ โสด
สถานะทางการทหาร ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว
บิดาชื่อนายมานัส มีแก้ว อาชีพ รับราชการ
มารดาชื่อนางวาสนา มีแก้ว อาชีพ รับราชการ (เสียชีวิต)
จำนวนพี่น้อง 3 คน เป็นคนสุดท้าย
ที่อยู่ปัจจุบัน 38 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 56 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม 10700
ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน 522/21 หมู่ 7 อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบศึรีขันธ์ 77120
การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จังหวัดประจวบศีรีขันธ์
มัธยมศึกษา โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จังหวัดประจวบศีริขันธ์
ปวช. โรงเรียนพณิชยการสยาม สาขาการขาย
ปวส. โรงเรียนพณิชยการสยาม สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
เบอร์โทร 0835546223 , 0847655954
ประวัติการทำงาน ยังไม่ทำงาน
ประวัติการอบรมและฝึกงาน ปวช.
ปวส. ไปรษณีย์ไทย สาขาตลิ่งชัน
สัตว์เลี้ยง แมว ปลา
สัตว์ที่เกลียด งู
อาหารที่ชอบ คอหมูย่าง
คติ ทำทุกวันให้ดีที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปีต่อเนื่อง

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจBachelorofBusiness Administration Program in Business Computerชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม:ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)BachelorofBusinessAdministration(BusinessComputer)ชื่อย่อ:บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) B.B.A. (Business Computer)
จุดประสงค์เฉพาะ
1.เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้านต่างๆที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคมสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4.เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพจริยธรรมและปัญญาธรรม
คุณสมบัติเฉพาะโปรแกรมวิชา
โครงสร้างหลักสูตรมีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า73หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
2.หมวดวิชาเฉพาะด้าน 49 หน่วยกิต
3. หมวดเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

รายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ
1. กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1บังคับ เรียน 24 หน่วยกิต
ที่ รหัสวิชารายชื่อวิชา หน่วยกิต
1 1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
2 3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3 3504101 จริธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
4 3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
5 3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ3(3-0)
63503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
7 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
8 4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
ที่ รหัสวิชา รายชื่อวิชา หน่วยกิต
1 3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
2 3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3 3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4 3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
5 3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
6 35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
7 4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
8 4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
9 4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
10 4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 3(2-2)
11 4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
12 4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
13 4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
14 4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
15 4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
16 4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
17 4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
18 4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
19 4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
20 4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
21 4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
22 4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
23 4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
24 4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
25 4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
26 4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
27 4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
28 4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
29 4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
30 4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
31 4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
32 4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)

ข้อกำหนดเฉพาะ1)ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 12 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
ที่รหัสวิชา รายชื่อวิชา
1 3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1
2 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3 3521101 การบัญชี 1
4 3521102 การบัญชี 2
5 4112105 สถิติธุรกิจ
6 3531101 การเงินธุรกิจ
7 3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน

2.กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการบังคับ เรียน 9 หน่วยกิต
ที่ รหัสวิชา รายชื่อวิชา หน่วยกิต
1 3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
2 3543101 การบริหารการตลาด
3(3-0) 3 3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)

ข้อกำหนดเฉพาะ
1)ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี(หลังอนุปริญญา)ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101องค์การและการจัดการและ3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3)สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน

3.กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
ที่ รหัสวิชา รายชื่อวิชา หน่วยกิต
1 3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(0-90)
2 3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(0-210)

หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้

การปฎิบัติตนเมื่อไปฝึกงานและขั้นตอนการสมัครงาน

ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาภาคปกติและภาคกศ.ป.ป.(กลุ่มไม่มีงานทำ)จะเหมือนกันคือนักศึกษาจะเป็นผู้ติดต่อขอฝึกงานกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยตนเองก่อนในเบื้องต้นและขอให้นักศึกษาคำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่พักอาศัยระหว่างฝึกและความปลอดภัยของนักศึกษาด้วย จากนั้นให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
กรอบแบบขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพควรกรอกให้ครบและถูกต้องโดยเฉพาะชื่อและตำแหน่งหัวหน้าสถานประกอบการจากนั้นนำมายื่นไว้ในตระกร้้ารับแบบขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ห้องประกันคุณภาพ
ให้นักศึกษารอรับเอกสารขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพและเอกสารตอบรับฝึกงานฯ ประมาณ3วัน(เนื่องจากนักศึกษามีจำนวนมาก)เพื่อนำไปยื่นให้หน่วยงานด้วยตนเองรับที่ห้องประกันคุณภาพ
รับเอกสารตอบรับฝึกงานมาด้วยตนเองแล้วนำมาไว้ในตระกร้ารับแบบตอบรับห้องประกันคุณภาพหรือรอให้หน่วยงานตอบกลับด้วยวิธีอื่นซึ่งทางศูนย์ฝึกฯจะติดไว้หน้าห้องประกันคุณภาพหรือดูได้จากเว็บไซต์ของคณะฯและเว็บไซต์ศูนย์ฝึกฯ
ถ้านักศึกษาได้รับการตอบปฏิเสธให้นักศึกษาทำตามขั้นตอนที่1-3ให้ได้ทัีนทีเมื่อรับทราบผลรอรับการปฐมนิเทศและรับเอกสารส่งตัวนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งประกอบด้วยเอกสารส่งตัวนักศึกษาฝึกงานฯ, แบบประเมินการฝึกงาน, เอกสารรับรองการฝึกงาน และเอกสารส่งตัวนักศึกษากลับฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามสถานประกอบการที่ได้ติดต่อไว้แล้ว และขอให้นักศึกษาปฏิบัติตนตามระเีบียบและแนวปฏิบัติในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด รับการปัจฉิมนิเทศเมื่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ้นสุดลง ซึ่งวัน เวลา และสถานที่สาขาวิชาจะเป็นผู้กำหนด หรือติดตามได้จากเว็บไซต์ของคณะฯและเว็บไซต์ศูนย์ฝึกฯ
การจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนทางด้านอาชีวศึกษาสิ่งหนึ่งที่สำคัญยิ่งยวดก็คือ การฝึกงาน ที่จะได้ประสบการณ์ตรงจากอาชีพที่ทำและพิสูจน์ว่าความรู้ที่เรียนมาในแต่ละสาขาวิชาสาขางานนั้น สอดคล้องกับอาชีพจริงหรือไม่อย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กำหนดให้ใช้หลักสูตรใหม่ ทั้งระดับปวช.และปวส.ในระยะแรกให้นำรายวิชาไปฝึกงานอย่างน้อย 1ภาคเรียนในสถานประกอบการหรือแหล่งวิทยาการ ซึ่งต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยน (หนังสือ ศธ 0606/976 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2549) ว่า หากสถานศึกษาใดไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้นำรายวิชา การฝึกงาน (ปวช. 2000-7001, ปวส. 3000-7001) ไปจัดแทนรายวิชา ไม่ว่าจะจัดการฝึกงาน รูปแบบใดทั้งโดยนำรายวิชาต่าง ๆ หรือวิชาการฝึกงาน ก็ถือว่า เป็นการสร้างทักษะที่จะได้ปฏิบัติงานจริงในวิชาชีพนั้น ๆ ข้อพึงปฏิบัติที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ทั้งตัวนักเรียน/นักศึกษา, ผู้ปกครอง, สถานศึกษา,สถานประกอบการและครูฝึก/ผู้ควบคุมการฝึกงานจะต้องช่วยกันนำมาพิจารณาร่วมกัน ได้แก่
1. การปฐมนิเทศควรแจ้งให้ผู้ปกครองและนักเรียน/นักศึกษาทราบตั้งแต่ในวันปฐมนิเทศว่านักเรียน/นักศึกษาจะมีการฝึกงานหากสามารถระบุภาคเรียนหรือระดับชั้นได้ก็ควรรีบแจ้ง ลักษณะการฝึกงานเป็นอย่างไร ต้องมีการทำงานจริง เพื่อผู้ปกครองจะเข้าใจเมื่อถึงช่วงเวลานั้น นักเรียน/นักศึกษาออกจากบ้านมาแล้วไปไหน อย่างน้อยถ้าผู้ปกครองได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น ก็จะเป็นอีกแหล่งหนึ่งในการช่วยหาสถานประกอบการที่เหมาะสมให้กับนักเรียน/นักศึกษาหรือเป็นเครือข่ายในการเสาะหาสถานประกอบการ เพราะผู้ปกครองคงจะต้องหาสถานประกอบการที่เหมาะสมที่สุดให้กับบุตรหลานของตนเอง
2. ครูประจำแผนกวิชาหรือแต่ละรายวิชา จะต้องช่วยกันเป็นกระบอกเสียงช่วยแจ้งเตือนให้นักเรียน/นักศึกษาทราบอีกครั้งว่า จะมีการฝึกงานช่วงใด ระดับชั้นใด เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเตรียมตัวเพื่อหาสถานประกอบการที่เหมาะสมกับนักเรียน/นักศึกษาเอง ขณะเดียวกันคงจะต้องมีการเรียนการสอนที่สอดแทรกพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตนในสำนักงาน/หน่วยงาน การปฏิบัติงานและปฏิบัติตนร่วมกับผู้อื่น มารยาทที่พึงปฏิบัติ
3. ข้อมูลสถานประกอบการ สถานศึกษาต้องมีข้อมูลเบื้องต้นแจ้งให้กับนักเรียน/นักศึกษาว่ามีหน่วยงาน/บริษัท/สถานประกอบการที่รับนักเรียน/นักศึกษาฝึกงาน โดยเฉพาะในแผนกวิชา จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดเพราะว่า หน่วยงานที่รับนักเรียน/นักศึกษาเข้าฝึกงานส่วนใหญ่จะเคยรับฝึกงานอยู่แล้ว และจะแจ้งความประสงค์ให้กับครูนิเทศทราบว่า ในครั้งต่อไปต้องการ นักเรียน/นักศึกษากี่คน และลักษณะงานจะเป็นอย่างไรข้อมูลคงจะต้องบอกและชี้ให้ชัดเจนว่า ลักษณะหน่วยงานนั้นมีงานที่ค่อนข้างตรงกับสาขาวิชา พร้อมสถานที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ สถานฝึกงานควรไม่ไกลและสะดวกในการเดินทางของนักเรียน/นักศึกษา เพื่อลดปัญหาในการนิเทศ หรือหากสถานประกอบการที่อยู่ไกลแต่มีการติดต่อนักเรียน/นักศึกษา เป็นประจำและเคยช่วยเหลือทางสถานศึกษาโดยเฉพาะประเภทวิชาอุตหกรรม ประเภทวิชาเกษตรกรรม บางสาขาวิชาหรือบางสาขางาน ก็ควรจะต้องสอบถามความสมัครใจและความพร้อมของนักเรียน/นักศึกษาด้วย คงไม่ลืมว่า สถานประกอบการบางแห่งรับนักเรียน/นักศึกษา จากสถานศึกษา/สถาบันอื่นและระดับต่างๆ ดังนั้นการที่นักเรียน/นักศึกษาเริ่มต้นก่อนไปพบเขาก่อน ก็คงเป็นโอกาสดีสำหรับนักเรียน/นักศึกษาเอง นอกจากนี้ข้อมูลสถานที่ฝึกงานจากรุ่นพี่ก็อาจจะอีกทางหนึ่งที่จะให้ข้อมูลที่แท้จริงได้
4. การเตรียมตัวก่อนเข้าพบสถานประกอบการ กรณีนักเรียน/นักศึกษา หาสถานประกอบการเองเมื่อได้ชื่อสถานประกอบการเป้าหมายแล้ว ต้องดูว่าจะไปกันกี่คนถ้าจำนวนมากเกินไปสถานประกอบการคงรับไม่ได้ จำนวนที่เหมาะสมประมาณ 2–3คน ซึ่งคงเตรียมการถูกสัมภาษณ์เบื้องต้นที่นักเรียน/นักศึกษาจะให้ข้อมูลแก่สถานประกอบการว่าจะฝึกงานช่วงใด นักเรียน/นักศึกษาแผนกวิชา ระดับชั้น ระยะเวลาในการฝึกงาน กรณีที่นำรายวิชาไปฝึกจะต้องบอกรายวิชาให้ทราบด้วย มาจากสถานศึกษาพร้อมเบอร์โทรศัพท์

การแต่งกายสวมชุดเครื่องแบบนักเรียน/นักศึกษาประจำสถานศึกษานั้นๆให้เรียบร้อยควรจะบอกกล่าวนักเรียน/นักศึกษาทราบว่าการไปสถานประกอบการถือว่าเป็นการทดลองสัมภาษณ์งานเบื้องต้น การจะนำเสนออย่างไรให้หน่วยงานนั้นๆประทับใจในครั้งแรกที่พบปะ บางครั้งการไปหาสถานประกอบการนักเรียน/นักศึกษา แต่งกายโดยมีเครื่องประดับก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรกระทำ หรือนักเรียน/นักศึกษาชายมักจะไว้ผลยาวมากตามสมัยนิยมและเทรนด์ของ Fashion ยุคนั้น ๆ เรื่องเหล่านี้ควรให้ข้อมูล

การรับการสัมภาษณ์เบื้องต้น ที่นักเรียน/นักศึกษาจะต้องไปนำเสนอให้สถานประกอบการทราบข้อมูลอะไรบ้างที่จำเป็นต้องมี (จากข้อ 3)ที่นักเรียน/นักศึกษาจะตอบสถานประกอบการได้ บุคลิกขณะทำการสัมภาษณ์เบื้องต้นควรทำอย่างไรคงจะต้องบอกและสอน
จำนวนนักเรียน/นักศึกษา การหาสถานประกอบการนักเรียน/นักศึกษามักจะไปจำนวนมากเกินกว่าที่สถานประกอบการจะรับได้ยกเว้นบางสาขาวิชาที่ต้องการนักเรียน/นักศึกษาที่จะไปฝึกงาน ไม่ใช่เป็นการแจ้งชื่อให้ทราบโดยที่ไม่เคยพบปะกับสถานประกอบการมาก่อนและสถานประกอบการควรจะต้องปฏิเสธถ้าไม่สามารถรับนักเรียน/นักศึกษาได้เพราะจะเป็นภาระในการสอนงานหรือให้นักเรียน/นักศึกษาไปนั่งอยู่เฉย ๆ ทำให้ภาพพจน์ของหน่วยของทั้งสองฝ่ายเสียได้
5. เอกสารต่างๆในการเตรียมสำหรับการฝึกงาน นักเรียน/นักศึกษาต้องแจ้งข้อมูลให้งานที่รับผิดชอบทราบเพื่อสถานศึกษาจะได้ทำหนังสือแจ้งสถานประกอบการทราบและยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ข้อมูลเอกสารที่ควรแจ้งให้สถานประกอบการทราบได้แก่
1. ชื่อนักเรียน/นักศึกษา
2. ระดับชั้น ปวช. หรือ ปวส.
3. ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน
4. ระยะเวลาการฝึก
5. งานที่นำไปฝึก จำนวนวิชาหรือจุดประสงค์มาตรฐานวิชาและคำอธิบายรายวิชาหรือแผนการฝึก
6. ชื่อครูที่รับผิดชอบการนิเทศหรือผู้ที่สถานประกอบการสามารถจะติดต่อได้ พร้อมเบอร์โทรศัพท์
7. ตารางการนิเทศ
6. การไปรายงานตัววันแรกของการฝึกงาน นักเรียน/นักศึกษาจะต้องไปก่อนเวลาและเตรียมเอกสารทั้งหมดที่ได้รับจากสถานศึกษา มอบให้กับสถานประกอบการ ซึ่งสถานประกอบการจะจัดเตรียมผู้รับผิดชอบดูแลนักเรียน/นักศึกษาและปฐมนิเทศให้นักเรียน/นักศึกษา สถานศึกษาบางแห่งที่มีจำนวนสถานประกอบการและจำนวนนักเรียน/นักศึกษาไม่มากนัก ครูอาจจจะพานักเรียน/นักศึกษาไปพบสถานประกอบการเอง โดยเฉพาะประเภทวิชาเกษตกรรมซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน/นักศึกษาและได้พบปะกับครูฝึกของสถานประกอบการโดยตรง
7. การนิเทศงานวันแรก สถานประกอบการต้องจัดเตรียมผู้รับผิดชอบและควรบอกรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้ให้กับนักเรียน/นักศึกษา
7.1 เวลาทำงาน การเริ่มปฏิบัติงานเพราะแต่ละงานคงมีเวลาเริ่มปฏิบัติงานที่แตกต่างกันเช่น 8.30, 9.00 ฯลฯ ช่วงพักและเวลาเลิกงาน รวมถึงการลงลายมือชื่อทำงานหรือบางแห่งอาจจะมีเครื่องตอกบัตรเวลาทำงาน ควรแนะนำให้นักเรียน/นักศึกษาทราบ สถานศึกษาบางแห่งอาจจะมีใบลงเวลาทำงานโดยให้ผู้ดูแลเป็นผู้ลงลายมือชื่อกำกับ ซึ่งตรงนี้นักเรียน/นักศึกษามักจะลืมนำไปให้ผู้ควบคุมการฝึก
7.2 แนะนำบุคลากร สถานประกอบการจะต้องยอมสละเวลาในวันแรก ช่วยแนะนำนักเรียน/นักศึกษาให้รู้จักกับบุคลากรที่นักเรียน/นักศึกษาจะต้องเกี่ยวข้องด้วย หรือกรณีที่มีแผนภูมิ บอร์ดการบริหารงานในสำนักงานควรจะให้รู้ว่าใครทำหน้าที่อะไรและแนะนำวิธีการปฏิบัติตนเมื่อพบปะกับบุคคลแต่ละแผนก เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีและมั่นใจให้กับนักเรียน/นักศึกษาที่จะฝึกงาน
7.3 แนะนำสถานที่ พื้นที่งานหรือห้องทำงานที่นักเรียน/นักศึกษาจะเกี่ยวข้องหรือประสานงาน รวมถึงอาคารสถานที่ทั้งหมดหรือบางส่วน สถานที่ทำงานบางแห่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่นักเรียน/นักศึกษา โรงอาหาร ห้องน้ำชาย/หญิง สถานที่บางแห่งที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
7.4 แนะนำงานให้นักเรียน/นักศึกษา งานที่นักเรียน/นักศึกษาจะฝึกได้ครูฝึกควรจะต้องมีการสัมภาษณ์เบื้องต้นว่านักเรียน/นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในสาขางานนั้นมากน้อยอย่างไร คงจะไม่ลืมว่านักเรียน/นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีความรู้บางส่วน แต่ยังไม่มีทักษะในการปฏิบัติงาน หรือกรณีนักเรียน/นักศึกษาบางส่วนที่นำเอารายวิชามาฝึก จะยังไม่มีความรู้และทักษะในงานนั้น แต่จะมาเรียนรู้ในสถานประกอบการโดยถือว่า สถานประกอบการที่ฝึกเป็นสถานศึกษาแห่งหนึ่งด้วย ในระยะแรกครูฝึกจะต้องให้การดูแลสักพักหนึ่ง เมื่อฝึกแล้วจะต้องติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานว่าจะมอบหมายงานใหม่ให้ต่อไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามจะต้องมีการหมุนเวียนการปฏิบัติงานให้กับนักเรียน/นักศึกษาเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดทักษะในงานอาชีพนั้น
7.5 การประพฤติและปฏิบัติตนขณะทำงาน สิ่งที่เราได้รับฟังตอบกลับมายังสถานศึกษาและเป็นปัญหาใหญ่ที่สถานศึกษาจะต้องหาทางแก้ไข คือ ความมีวินัย การตรงต่อเวลา กริยามารยาท รวมไปถึงการประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียน/นักศึกษา ความไม่พร้อมของนักเรียน/นักศึกษาทั้งระดับปวช.และปวส. ระยะห่างของช่วงวัยระหว่างครูฝึกและนักเรียน/นักศึกษาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สถานประกอบการต้องพิจารณา โดยเฉพาะการเคารพนับถือกัน บางครั้งการนิเทศติดตามให้บ่อยขึ้นอาจจะทำให้ทราบปัญหาที่แท้จริงได้ ดังนั้น ในวันแรกของการนิเทศในเรื่องนี้ คงจะเป็นหน้าที่ของสถานประกอบการ ที่จะลืมไม่ได้และเป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดที่จะต้องกล่าวถึงด้วย
8. การบันทึกการฝึกงาน สิ่งที่เป็นความรู้ใหม่หรือทักษะที่เพิ่มขึ้น ต้องบันทึกให้ละเอียด การแนะนำในการบันทึกการฝึกงานควรมีการปรับเปลี่ยนสำหรับบางสถานศึกษาที่ให้บันทึกเฉพาะชิ้นงานซ้ำ ๆรวมถึงการนิเทศของครู ต้องถือว่าเรื่องนี้จะต้องแนะนำให้ถูกต้องเพราะกรณีการนำรายวิชาไปฝึกงาน ครูนิเทศจะเห็นเนื้อในของงานว่าจะสอดคล้องกับงานวิชานั้นๆมากน้อยเพียงไร เพื่อจะได้นำข้อมูลนี้มาจัดระบบหรือจัดแผนการเรียนในครั้งต่อไป

ข้อพึงปฏิบัติข้างต้นเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรามักจะลืมไปว่า ไม่เฉพาะคนในองค์กรนี้เท่านั้น คนนอกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเราย่อมมีบทบาทและนำมาพิจารณาทุกครั้ง ทั้งการที่จะมีการฝึกงานระหว่างภาคเรียนปกติ ภาคฤดูร้อน การนำรายวิชาไปฝึก การนำวิชาการฝึกงาน (ปวช. 2000-7001, ปวส.3000-7001)ไปฝึก คงจะต้องตระหนักว่าการฝึกงานเป็นสิ่งที่ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาตลอดไป ดังนั้น การเตรียมพร้อมวันนี้ได้ข้อมูลวันนี้เพื่อจะพัฒนาให้ดีขึ้นในวันหน้า เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายไม่ควรมอง
ข้อปฏิบัติของนักศึกษาในระหว่างฝึกงาน
1.เวลาในการทำงานควรมาก่อนและกลับทีหลัง มีสัมมาคารวะ การพูดจาควรมีหางเสียง
2.ในการทำงาน เราควรปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ให้ได้ ทำงานให้ทันตามกำหนด
3.การขาดงานหรือการลาไม่ควรเกิน3-5วันและต้องมีใบลาให้กับพี่เลี้ยงหรือโทรศัพท์แจ้งหน่วยงาน
4.กรณีที่ขาดหรือลามากกว่าเนื่องจากมีเหตุจำเป็นเช่นเป็นนักกีฬาจะต้องมีใบแจ้งแล้วหาเวลาไปฝึกเพิ่มเติม
5.ระยะเวลาการฝึกงาน บางหน่วยงานอาจมีวันทำงานไม่เหมือนกัน เช่น บางหน่วยงานให้ฝึกงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และบางหน่วยงานให้ฝึกวันจันทร์ถึงวันเสาร์ การฝึกงานจะเริ่มต้นและสิ้นสุดตามกำหนดวันฝึกงานเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เริ่มฝึกงานตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม จนถึงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ก็ต้องมาฝึกจนครบตามกำหนดระยะเวลา

กรณีที่เกิดปัญหาระหว่างฝึกงาน นักศึกษาสามารถปรึกษาอาจารย์ประจำวิชาได้โดยตรง
· โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปรึกษาอาจารย์เจนจิรา ปาทาน
· โปรแกรมวิชาการตลาด บริหารทรัพยากรฯและการจัดการทั่วไป ปรึกษาอาจารย์บังอร สุขจันทร์
· โปรแกรมวิชาบัญชี ปรึกษาอาจารย์นารีรัตน์ กว้างขวาง
· โปรแกรมสถิติ ออกแบบผลิตภัณฑ์ นิเทศศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ปรึกษาอาจารย์ศุภศักดิ์
· โปรแกรมภาษา ปรึกษาอาจารย์จรูญ แช่มชื่น
· โปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ ปรึกษาอาจารย์ลือศักดิ์ แสวงมี และอาจารย์สุเทวี
· แก้ปัญหาการฝึกงาน หัวหน้างานคือ อาจารย์เพ็ญลักษณ์ อ่อนทรวง
เมื่อฝึกงานแล้วไม่อนุญาตให้ย้ายหน่วยงาน ยกเว้นกรณีถูกลวนลามหรือกรณีที่จำเป็นจริงๆ

การนิเทศนักศึกษา
การนิเทศนักศึกษาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1.การไปนิเทศนักศึกษาที่หน่วยงาน มีการสอบถามพี่เลี้ยง/นักศึกษา
2.การนิเทศนักศึกษาทางโทรศัพท์(กรณีอยู่ต่างจังหวัด) มีการสอบถามพี่เลี้ยง/นักศึกษา
· กรณีอาจารย์ไม่ไปนิเทศ ให้หัวหน้าห้องรวบรวมรายชื่อนักศึกษาของแต่ละโปรแกรมส่งที่ศูนย์ฝึกฯ
· กำหนดเวลาการนิเทศอาจารย์ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องภายในระยะเวลาของการฝึกงาน
3.เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน หัวหน้าห้องรวบรวมสมุดคู่มือ ส่งที่อาจารย์ประจำวิชา

ข้อปฏิบัติของอาจารย์นิเทศก์ที่นักศึกษาควรรู้
1.อาจารย์นิเทศก์จะสอบถามข้อมูลของนักศึกษากับพี่เลี้ยงหรืออาจขอดูรายละเอียดที่สมุดคู่มือฝึกประสบการณ์
2.สิ่งที่อาจารย์นิเทศจะถามก็คือ
· นักศึกษาฝึกงานเป็นอย่างไรบ้าง ทำอะไรให้กับหน่วยงานบ้าง ในการทำงานมีปัญหาอะไรบ้างไหมฯลฯ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://training.sskru.ac.th
ขั้นตอนการสมัครงาน
การสมัครงานเหมือนกับการไปเสนอขายสินค้าซึ่งจำเป็นจะต้องเตรียมตัวให้ดีและการเตรียมตัวก่อนสมัครงานเป็นสิ่งจำเป็น จะต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนจบการศึกษาซึ่งในแต่ละปี แต่ละสถาบันจะมีผู้จบการศึกษาทั่วประเทศรวมกันแล้วประมาณแสนๆคนและรวมกับผู้ที่ตกค้างจากปีก่อนๆที่ยังไม่ได้งานทำมี อีกมาก และความเชื่อที่ว่าเรียนเก่งหรือเรียนดีแล้วจะหางานง่ายนั้นอาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป ซึ่งในยุคปัจจุบันการรับคนเข้าทำงานในทุกวันนี้จะพิจารณาสิ่งอื่นๆประกอบด้วยเช่นบุคลิกภาพความคล่องตัวความอดทน ความเป็นคนมีปฏิภาณ ไหวพริบ การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆในการหางาน ทำหรือสมัครงาน จึงเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดีและควรทำเข้าทำนองที่ว่า“ฟอร์มดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”ซึ่งการไปหางานหรือการไปสมัครงานเปรียบ เสมือนกับคุณเป็นเซลล์แมน หรือเซลล์วูแมน ที่จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน โดย คุณจำเป็นจะต้องมีเทคนิค วิธีการต่างๆ ที่ทำให้ผู้ซื้อสินค้า(นายจ้าง)พร้อมที่อยากจะได้สินค้า(ตัวคุณ) เอาไว้ถ้าคุณทำได้โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จในการหางานทำมีมากดังนั้นถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ต้องการตกอยู่ในสถานการณ์ว่า “ตกงาน”ก่อนหางานทำ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้
1. ค้นพบตัวเองให้ชัดเจน
2. ติดตามข่าวสาร
3.การมองหาแหล่งงานซึ่งเมื่อคุณทราบในประเด็นหัวข้อใหญ่ๆแล้วเรามาดูในแต่ละหัวข้อมีวิธีการเทคนิคอย่างไรบ้าง
1. ค้นพบตัวเองให้ชัดเจนทำไมจึงต้องมีการรู้จักตนเองก็เพราะการหางานคือการ“ขาย”ตนเองชนิดหนึ่งเป็นการเสนอขายความรู้ความสามารถของตัวเราเองให้แก่บริษัท หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งนั่นเอง ใครขายเก่งหรือมีศิลปะในการขายสามารถทำให้ผู้ซื้อเกิดความรู้สึกอยากได้ “สินค้า”ชนิดนี้ก็จะได้งานไปทำแต่การที่จะ ขายของอะไรได้นั้น เราจำเป็นจะต้องรู้คุณภาพสินค้าเสียก่อน (รู้จักตัวเราเอง) เราจึงจะขายให้ใครเขาได้ ถ้าเราไม่รู้แม้กระทั่งสินค้านั้นมี คุณภาพอย่างไร มีจุดเด่นอะไร อยู่ตรงไหน ใช้แล้วได้ประโยชน์อะไร ใครเขาจะมาซื้อ(นายจ้าง)ดังนั้นการสมัครงานก็เช่นกันถ้าคุณไม่รู้แม้กระทั่งว่าในตัวคุณมีจุดเด่น ความรู้ ความสามารถ ฯลฯหรือพูดง่ายๆว่าคุณเก่งทางด้านไหน และคุณจะไปโน้มน้าวให้คนอื่นเขามาชื่นชม และต้องการคุณได้อย่างไร
ขั้นตอนแห่งค้นพบตัวเอง
1.การค้นหาทักษะ (Skills)เป็นความสามารถที่ต้องมีและเป็นรากฐานในการทำงานทุกชนิดไม่มีงานชนิดไหนที่ไม่ต้องใช้ทักษะ โดยทักษะ จะแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
(1) ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการขับรถ พูดภาษาต่างประเทศ
(2) ทักษะที่ติดตัวที่ติดตัวเรามาและสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่น การวาดรูป ร้องเพลง
(3) ทักษะที่ได้จากสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นบ้านที่ทำงานโรงเรียนเช่นทักษะการเข้ากลุ่มเพื่อนทักษะการเป็นผู้นำซึ่งในงานแต่ละชนิดเมื่อจำแนกหน้าที่ของงานออกแล้วจะต้องประกอบด้วยกิจกรรมหลายอย่าง ซึ่งแต่ละ กิจกรรมก็จะประกอบไปด้วยทักษะมากมายเช่นอาชีพครูมีกิจกรรมทางด้านการสอนบริหารค้นคว้า ทักษะมีทั้งการพูด การออกคำสั่งการฟังการแสดงออก และการเขียน
2. การสำรวจจุดเด่นของตนเองจุดเด่นของคุณมีผลต่อการหางานมากพอๆกับทักษะจุดเด่นนี้เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพที่ทุกคนมีงานทุกชนิดต้องการคนที่มีบุคลิกบางอย่างที่เด่นเป็นเฉพาะเช่นงานประชาสัมพันธ์ คุณควรมีบุคลิกภาพที่เขากับคนง่ายรู้จักจัดการเกี่ยวกับคนหรือพนักงานบัญชี คุณก็ควรมีบุคลิกภาพที่ละเอียดรอบคอบ เป็นต้น
3.สำรวจความสัมฤทธิ์ผลทั่วไปความสัมฤทธิ์ผลนี้คือเป็นความรู้สึกประทับใจความสำเร็จไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดๆก็ตามโดยให้นึกถึงสิ่งที่คุณทำแล้วสำเร็จและประทับใจเหล่านั้นมาสัก4-5เรื่องและเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นผลสัมฤทธิ์ของคุณ และนำมาเขียนเป็นผลสรุปของคุณเก็บไว้เป็นข้อมูลไว้เป็นองค์ประกอบในการสมัครงานด้านหนึ่ง
4. สำรวจความชอบ/ไม่ชอบเป็น ขั้นตอนของการลองกลับไปคิดทบทวนใหม่อีกครั้งถึงประสบการณ์สมัยอยู่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย หรือช่วงชีวิตที่ผ่านมามีอะไรที่เกิดขึ้นใน ช่วงเหล่า นั้น ที่คุณชอบและไม่ชอบใจบ้างไหม เช่นคุณอาจจะจำครูที่ดุอย่างขาดเหตุผล คุณแม่ที่เคร่งครัดและเจ้าระเบียบ เพื่อนที่เจ้าอารมณ์ ขอให้จำบุคลิกลักษณะของบุคคลที่คุณไม่ชอบนี้ไว้ด้วย คุณจะได้รู้ว่าบุคคลประเภทใดที่คุณอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข
5. สำรวจขีดจำกัดคนเราทุกคนไม่มีความสมบูรณ์ดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง ทุกคนต้องมีข้อบกพร่อง ซึ่งมันอาจเป็นจุดอ่อนที่ยังแฝงอยู่ในบุคลิกภาพของคุณในปัจจุบัน จุดอ่อนที่จะ เป็นตัวขัดขวางทำให้คุณไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรโดยคุณจะต้องพยายามทำความรู้จักกับทุกส่วนของบุคลิกคุณอย่างแท้จริง และนำมาเป็น จุดแก้ไข ปรับปรุง หรือเป็นข้อควรระวัง เพื่อคุณจะไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ เช่น คุณอาจเป็นคนที่มีความคิดอ่านที่ดีสมัยอยู่โรงเรียนมัธยมแต่คุณมักไม่กล้าแสดงตัวหรือแสดงความคิดเห็นให้ ปรากฏทำให้คนอื่นรับหน้าที่แทนคุณไป แสดงว่าคุณมีจุดอ่อน คือขาดความกล้าหรือไม่มีลักษณะเป็นผู้นำ คุณก็นำข้อนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาหรือถ้าไม่ไหวจะเป็นผู้นำก็ต้องหางานในตำแหน่งที่ไม่ ต้องแสดงความเป็นผู้นำ ดังกล่าว
6. สำรวจค่านิยมค่านิยมคือสิ่งที่เรายึดถือว่าดีงามสมควรปฏิบัติ เช่น ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความปลอดภัย ความเสียสละซึ่งถ้าคุณคิดเพียงว่าแต่ขอให้ได้งานโดยไม่ตระหนักถึงค่านิยมของตัวเองและธรรมชาติของงานการทำงานนั้นก็จะไม่ได้รับความสุขกับการทำงาน และทำให้ต้องเข้า ๆออกๆ หางาน ใหม่อยู่ตลอดเวลาดังนั้นการรู้จักค่านิยมของตัวเองจึงเป็นหัวใจสำคัญอีกด้านหนึ่งในการทำงานเพื่อ ความสุขของชีวิต
7. สำรวจความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่นการทำงานทุกชนิดต้องสัมพันธ์กับคนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละตำแหน่งงาน ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องเข้าใจคือ เราต้องอยู่กับคนไปตลอดชีวิตการเข้าใจความสัมพันธ์ที่มีต่อกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกัน และทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
8.สำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงานสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่นี้ก็คือสถานที่ตั้งของหน่วยงานเช่นใกล้-ไกล การคมนาคม ต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ สภาพมลภาวะต่างๆ ลักษณะงาน ซึ่งคุณจะต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับความต้องการให้เข้ากับสิ่งที่คุณได้ ตามสมควร
9. ความต้องการเกี่ยวกับเงินเดือนไม่ว่าตัวผู้สมัครงานจะมีประสบการณ์หรือไม่มีประสบการณ์ก็ตาม การเรียกร้องเงินเดือนเท่าใดนั้น คุณควรจะต้องไปทำการค้นคว้าว่าโดยทั่ว ๆไปบุคคลที่จบการศึกษาระดับเดียวกันกับคุณหรือผู้ที่ทางบริษัทที่รับเข้ามาในตำแหน่งที่คล้ายกับที่คุณสมัครนั้นเขาได้รับเงินเดือนประมาณเท่าใด ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าเป็นงานราชการเงินเดือนจะต้องเป็นไปตามวุฒิที่ทางการกำหนดไม่มีการต่อรอง แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจอาจมีอัตราการจ่ายเงินที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาด ความมั่นคงของบริษัท และระบบการบริหารของบริษัท
2. การติดตามข่าวสารสิ่ง ที่คนหางานจะต้องตระหนักก่อนสิ่งอื่นใดก็คือ คุณจะต้องมีความกระตือรือร้นขวนขวายหา ข่าวสารด้วยความสนใจอย่างจริงจัง เพราะช่วงเวลา ของการโฆษณารับสมัครงานของแต่ละองค์กรล้วนมีระยะเวลาจำกัด บางองค์กรก็จะระบุวันหมด เขตรับสมัครเอาไว้ ทำให้เมื่อวันเวลาผ่านไปโอกาสในการ สมัครงานแล้วได้รับการคัดเลือกไปสัมภาษณ์ย่อมน้อยลงด้วย เนื่องจากในแต่ละปีมีบัณฑิตจบใหม่จากสถานศึกษา ที่ผลิตออกมาอย่างไม่ขาดสายด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องขวนขวายที่จะหาข้อมูลข่าวสารการรับสมัครงานให้มากที่สุดเมื่อคุณได้ข่าวสารการรับสมัครงานและคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสมัครได้ รวมทั้งคุณพอใจที่จะ ทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ คุณก็ควรจะสมัครให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องรีรอทั้ง ๆที่คุณมีความพร้อมในเรื่องเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการสมัครงานตามที่ระบุไว้ตรงกันข้ามกลับเป็นผลดีกับตัวคุณเสียอีก เพราะองค์กรที่รับ สมัครงานจะเห็นความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่น และความต้องการทำงานของคุณอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้รับสมัครพึงพอใจที่คุณให้ความสนใจกับองค์กรนั้นมากกว่าผู้สมัคร รายอื่น ๆ ที่รอจนเกือบ หมดเขตรับสมัครแล้วจึงค่อยไปสมัคร นอกจากนั้น การส่งใบสมัคร ไปตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้คุณมีข้อได้เปรียบกว่าคนอื่นในกรณีที่คุณส่งใบสมัครไปทางไปรษณีย์แล้ว เกิดความล่าช้าก็อาจเป็นไปได้ว่า ใบสมัครงานหรือจดหมายสมัครงานของคุณไปถึงที่หมายภายหลังหมดเขครับสมัครงานโอกาสที่คุณจะได้งานก็จะลดลงตามไปด้วยคุณทราบหรือไม่ว่ามีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการสมัครงานแนะ นำว่า คนเราถ้าทำงานออฟฟิศเราจะ ต้อง ใช้ เวลาทำงานอยู่ในออฟฟิศถึงวันละ 7-8ชั่วโมงเพราะฉะนั้นคุณก็ควรจะสมัครงานด้วยจดหมาย สมัครงาน หรือกรอกแบบฟอร์มการสมัครงานและส่งใบสมัครงานให้ได้อย่างน้อยชั่วโมงละ 1 ราย หรือวันละ 7 -8 รายในตำแหน่งงานที่คุณมีคุณสมบัติ ครบถ้วนและมั่นใจว่าคุณพอใจจะทำงานในตำแหน่งนั้นๆ ถ้าคุณได้รับการคัดเลือกโอกาสที่จะได้งานของคุณย่อมมีสูงกว่าคนที่สมัครงานนาน ๆ ครั้งหนึ่ง แล้วก็คอยอยู่เฉยๆ จนกว่าจะรู้ว่าไม่มีหวังเสียแล้ว จึงค่อยลุกขึ้น แสวงหาข่าวสารรับสมัครงาน แล้วก็เริ่มหาหลักฐานใหม่ส่งใบสมัครหรือจดหมายสมัครงานไปอีกครั้งแล้วก็รอคอยการเรียกไปสัมภาษณ์คุณจะต้องไม่ลืมว่าคู่แข่งของคุณมีมากขึ้นทุกวัน แม้แต่วันเดียวก็เถอะถ้าคิดเป็นชั่วโมงอีกล่ะ และอย่าลืมว่าคู่แข่งขันของคุณจำนวนมากมีคุณสมบัติทุกอย่างเหมือนที่คุณมีตามเอกสารหลักฐานด้วยกันทั้งนั้นดังนั้นในระหว่างที่กำลังหางานทำ คุณจึงควรมีเอกสารที่ใช้สำหรับการสมัครงานไว้ให้พร้อมและทำสำเนาเอาไว้หลาย ชุดจะได้ไม่ต้องเสีย เวลาหาหลักฐานถ้าใครขยันแสวงหาแหล่งรับสมัครงานได้มากกว่าคนอื่น ๆ เอาแค่ขยันสมัครงานได้วันละ 4-5แห่งเท่านั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ในการ หางานของคุณก็มีมาก
3. มองหาแหล่งงานโดย ทั่วๆไป หนทางที่จะเริ่มมองหาแหล่งงานได้นั้นมีหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่สื่อมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่คุณจะหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรที่เปิดรับสมัครงาน ซึ่งคุณอาจจะเลือกดูได้จากแหล่งต่างๆเหล่านี้ คือ
1.สื่อสิ่งพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ เป็นสื่อที่คนต้องการหางานทำมักจะมองหาเป็นอันดับแรกโดยสื่อดังกล่าวอาจจะมาในรูปของนิตยสารรายสัปดาห์ที่ลงข่าวสารเกี่ยวกับการรับสมัครงานโดยเฉพาะ เช่น นิตยสารงานวันนี้ Smart Jobหางานหาง่าย หรือมาในรูปของหนังสือพิมพ์ที่ลงโฆษณา รับสมัครงานโดยเฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์แหล่งงาน งานทั่วไทยนอกจากนี้ยังมีในรูปแบบของSection Classified ที่แทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์รายวันเช่นโลกวันนี้The Nation Bangkok Post โดยสื่อเหล่านี้จะมีข่าวสารเกี่ยวกับการ เปิดรับสมัครงานใหม่ ๆอยู่เสมอนอกจากโฆษณา รับสมัครงานแล้ว ยังมีบทความต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวข้องกับการสมัครงานที่น่าสนใจอีกด้วยเรียกว่าถ้าคุณต้องการหางานสื่อสิ่งพิมพ์มีประโยชน์ต่อคุณมากทีเดียว
2. สื่ออินเตอร์เน็ตในโลกยุคปัจจุบันสื่ออินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการหางานโดยผู้สมัครงานสามารถเข้าไปค้นหาตำแหน่งงานที่ต้องการได้จากเว็บไซต์หางานต่างๆที่มีอยู่มากมายนอกจากจะได้ปริมาณตำแหน่งงานที่มากแล้ว เว็บไซต์เหล่านี้ยังให้ประโยชน์ในเรื่องอื่นๆอีกเช่นมีบทความเกี่ยว กับเทคนิคการ สมัครงาน มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนใบสมัคร และ Resume แถมยังส่งใบสมัครและResume ไปให้กับองค์กรทางอีเมล์ได้ทันทีอีกด้วยนับว่าเป็นวิธีการที่สะดวกและได้ผลดีไม่แพ้วิธีการอื่นเลยแต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างว่าในประเทศไทยนั้นสื่ออินเตอร์เน็ตยังไม่ใช่สื่อหลักที่ใช้กันอย่างแพร ่หลายการสมัครงานทางเว็บไซต์นั้นจึงมีข้อจำกัดที่ว่าข้อมูลของคุณอาจไปไม่ถึงผู้รับสมัครเพราะว่าบางบริษัทแม้ว่าจะลงรับสมัครทางอินเตอร์เน็ตแต่อาจจะไม่ได้นำข้อมูลของผู้ที่สมัครงานทางอินเตอร์เน็ตมาพิจารณาหรือบางครั้งก็มีความผิดพลาดทางเทคนิคทำให้ใบสมัครของคุณไม่สามารถส่งไปถึงผู้รับปลายทางได้แต่อย่างไรก็ดีสื่ออินเตอร์เน็ตก็ถือเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบันเราจึงได้รวบรวมเว็บไซด์เหล่านั้นไว้ให้คุณเพื่อเป็นอีกช่องทางในการสมัครงานของคุณ

ขั้นตอนการทำ Web Blog

Blog มาจากศัพท์คำว่าWeBlog บางคนอ่านคำๆนี้ว่าWeBlog บางคนอ่านว่าWeb Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกันว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blogนั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมืองเรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อกจะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆโดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมากแต่ในขณะเดียวกันบางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นกลุ่มเพื่อนๆหรือครอบครัวตนเองมีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่าBlogเป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์แต่ในความเป็นจริงแล้วไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือนเนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้นเพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภทตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วยที่เห็นชัดเจนคือเนื้อหาบล็อกประเภทวิจารณ์การเมืองหรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ตัวเองเคยใช้หรือซื้อมานั่นเองอีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่างๆอีกมากมายตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของBlogก็คือมันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้นๆผ่านทางระบบcomment ของบล็อกนั่นเองในอดีตแรกเริ่มคนที่เขียนBlogนั้นยังทำกันในระบบManualคือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียนBlogได้มากมายเช่นWordPress, MovableType
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลกหันมาเขียนBlogกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่นักเรียนอาจารย์นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaqเมื่อสองสามปีที่ผ่านมาBlog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่างๆหลายๆแห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติและจากเหตุการณ์เหล่านี้นับได้ว่าBlogเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจากวีดีโอ,สิ่งพิมพ์,โทรทัศน์หรือแม้กระทั่งวิทยุเราสามารถเรียกได้ว่าBlogได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริงสรุปให้ง่าย ๆสั้นๆก็คือBlogคือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการcommentsและก็จะมีlinkไปยังเว็บอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วยการที่เราจะมี blog ได้นั้น เราควรจะรู้จักกันก่อนว่าการทำblogมีผู้ให้บริการให้เราสามารถสร้าง blogได้หลายรูปแบบโดยในแต่ละแบบนั้นมีความต้องการรู้ทางด้านการทำเว็บแตกต่างกันไปว่ากันถึงแบบหลัก ๆ ก่อนดีกว่าครับ
1. ผู้ให้บริการ Blog (Blog Hosting , Blog Provider)
หากคุณไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการทำเว็บ หรือไม่รู้จัก blog มาก่อน ก็สามารถมี blog เป็นของตัวเองได้ง่าย ๆ ครับ โดยผู้ให้บริการ blog จะมีการเตรียมระบบรองรับให้เราเรียบร้อยแล้ว โดยสิ่งที่ผู้ให้บริการ blog เตรียมให้เราก็คือ
- ชื่อโดเมนที่ใช้เป็นที่อยู่ของblogเราโดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อแบบsubdomainคือเป็นชื่อในรูปแบบ myname.blogprovider.comเป็นต้นโดยคำว่าmynameนั้นก็จะแทนที่ด้วยชื่อที่เราเลือกไว้ครับส่วนตรง blogprovider.com นั้นก็คือชื่อโดเมนของผู้ให้บริการ blog ของเราไงครับ
- ระบบ blog management สิ่งต่อมาที่ผู้ให้บริการ blog เตรียมไว้ให้คือ โปรแกรมการ update blog ต่าง ๆ ไงครับ เราไม่ต้องเขียนโปรแกรมการ update blog ด้วยตัวเองแต่ทางผู้ให้บริการ จะมีระบบนี้เตรียมไว้ให้เราเลยครับรวมทั้งพวกเทมเพลท หรือรูปแบบดีไซน์ของ blog ที่เตรียมไว้ให้เราใช้ได้เลย ไม่เสียเวลาออกแบบ
- พื้นที่เก็บ Blog โดยจำนวนพื้นที่ที่ผู้ให้บริการเตรียมไว้ให้เรานั้น มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละรายครับ
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของการทำ blog กับผู้ให้บริการ blogนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ผู้ให้บริการบางแห่งฟรีบางแห่งเก็บค่าบริการรายเดือนผู้ให้บริการเหล่านี้ก็มีตัวอย่างเช่น Blogger.com,LiveJournal.com, TypePad.com เป็นต้น หากเป็นของไทยลองไปที่ BlogRevo หรือ exteen.com ดูได้ครับ
2. ใช้ Blog Software ติดตั้งใช้เอง
การใช้ Blog Software มาติดตั้งใช้เองนั้น ต้องการความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรม หรือติดตั้งโปรแกรมบ้างครับ แถมยังต้องมีพื้นฐานทางด้านการทำเว็บอีกด้วยเพราะเราอาจต้องทำการติดตั้ง หรือปรับแต่งดีไซน์ด้วยตัวเองโดยข้อดีของการใช้ BlogSoftwareมาติดตั้งเองคือเราสามารถควบคุมการใช้บล็อกของเราได้เอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เขียนบล็อกก็มีได้มากตามที่เราต้องการหรือตามขนาดพื้นที่ของweb hosting ที่เราเช่าใช้อยู่
หากเราต้องการใช้ Blog Software เราจะต้องมีสิ่งเหล่านี้อยู่ล่วงหน้าแล้ว นั่นคือ
- ชื่อโดเมนเนม อาจจะเป็นชื่อโดเมนที่เราจดทะเบียนโดเมนเนมไว้ หรือใช้ sub domain จากเว็บของเราที่มีอยู่แล้ว หากคุณยังไม่เคยมีเว็บมาก่อน ก็ต้องจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นของตัวเองก่อนครับ
- พื้นที่เว็บโฮสติ้ง คุณต้องเช่าพื้นที่เว็บโฮสติ้งไว้ให้พร้อมครับ โดยดูให้ตรงกับความต้องการของโปรแกรม blog software ที่เราจะใช้ เช่น php, cgi หรือ asp
- โปรแกรม Blog Software โปรแกรมเหล่านี้ มีทั้งแบบเสียสตางค์ซื้อมา เช่น MovableType หรือ หรือบางโปรแกรมก็ให้ใช้ได้ฟรี เช่น WordPress เป็นต้น

ขั้นตอนการทำจดหมายเวียน