เกี่ยวกับฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

การปฎิบัติตนเมื่อไปฝึกงานและขั้นตอนการสมัครงาน

ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาภาคปกติและภาคกศ.ป.ป.(กลุ่มไม่มีงานทำ)จะเหมือนกันคือนักศึกษาจะเป็นผู้ติดต่อขอฝึกงานกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยตนเองก่อนในเบื้องต้นและขอให้นักศึกษาคำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่พักอาศัยระหว่างฝึกและความปลอดภัยของนักศึกษาด้วย จากนั้นให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
กรอบแบบขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพควรกรอกให้ครบและถูกต้องโดยเฉพาะชื่อและตำแหน่งหัวหน้าสถานประกอบการจากนั้นนำมายื่นไว้ในตระกร้้ารับแบบขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ห้องประกันคุณภาพ
ให้นักศึกษารอรับเอกสารขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพและเอกสารตอบรับฝึกงานฯ ประมาณ3วัน(เนื่องจากนักศึกษามีจำนวนมาก)เพื่อนำไปยื่นให้หน่วยงานด้วยตนเองรับที่ห้องประกันคุณภาพ
รับเอกสารตอบรับฝึกงานมาด้วยตนเองแล้วนำมาไว้ในตระกร้ารับแบบตอบรับห้องประกันคุณภาพหรือรอให้หน่วยงานตอบกลับด้วยวิธีอื่นซึ่งทางศูนย์ฝึกฯจะติดไว้หน้าห้องประกันคุณภาพหรือดูได้จากเว็บไซต์ของคณะฯและเว็บไซต์ศูนย์ฝึกฯ
ถ้านักศึกษาได้รับการตอบปฏิเสธให้นักศึกษาทำตามขั้นตอนที่1-3ให้ได้ทัีนทีเมื่อรับทราบผลรอรับการปฐมนิเทศและรับเอกสารส่งตัวนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งประกอบด้วยเอกสารส่งตัวนักศึกษาฝึกงานฯ, แบบประเมินการฝึกงาน, เอกสารรับรองการฝึกงาน และเอกสารส่งตัวนักศึกษากลับฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามสถานประกอบการที่ได้ติดต่อไว้แล้ว และขอให้นักศึกษาปฏิบัติตนตามระเีบียบและแนวปฏิบัติในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด รับการปัจฉิมนิเทศเมื่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ้นสุดลง ซึ่งวัน เวลา และสถานที่สาขาวิชาจะเป็นผู้กำหนด หรือติดตามได้จากเว็บไซต์ของคณะฯและเว็บไซต์ศูนย์ฝึกฯ
การจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนทางด้านอาชีวศึกษาสิ่งหนึ่งที่สำคัญยิ่งยวดก็คือ การฝึกงาน ที่จะได้ประสบการณ์ตรงจากอาชีพที่ทำและพิสูจน์ว่าความรู้ที่เรียนมาในแต่ละสาขาวิชาสาขางานนั้น สอดคล้องกับอาชีพจริงหรือไม่อย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กำหนดให้ใช้หลักสูตรใหม่ ทั้งระดับปวช.และปวส.ในระยะแรกให้นำรายวิชาไปฝึกงานอย่างน้อย 1ภาคเรียนในสถานประกอบการหรือแหล่งวิทยาการ ซึ่งต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยน (หนังสือ ศธ 0606/976 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2549) ว่า หากสถานศึกษาใดไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้นำรายวิชา การฝึกงาน (ปวช. 2000-7001, ปวส. 3000-7001) ไปจัดแทนรายวิชา ไม่ว่าจะจัดการฝึกงาน รูปแบบใดทั้งโดยนำรายวิชาต่าง ๆ หรือวิชาการฝึกงาน ก็ถือว่า เป็นการสร้างทักษะที่จะได้ปฏิบัติงานจริงในวิชาชีพนั้น ๆ ข้อพึงปฏิบัติที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ทั้งตัวนักเรียน/นักศึกษา, ผู้ปกครอง, สถานศึกษา,สถานประกอบการและครูฝึก/ผู้ควบคุมการฝึกงานจะต้องช่วยกันนำมาพิจารณาร่วมกัน ได้แก่
1. การปฐมนิเทศควรแจ้งให้ผู้ปกครองและนักเรียน/นักศึกษาทราบตั้งแต่ในวันปฐมนิเทศว่านักเรียน/นักศึกษาจะมีการฝึกงานหากสามารถระบุภาคเรียนหรือระดับชั้นได้ก็ควรรีบแจ้ง ลักษณะการฝึกงานเป็นอย่างไร ต้องมีการทำงานจริง เพื่อผู้ปกครองจะเข้าใจเมื่อถึงช่วงเวลานั้น นักเรียน/นักศึกษาออกจากบ้านมาแล้วไปไหน อย่างน้อยถ้าผู้ปกครองได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น ก็จะเป็นอีกแหล่งหนึ่งในการช่วยหาสถานประกอบการที่เหมาะสมให้กับนักเรียน/นักศึกษาหรือเป็นเครือข่ายในการเสาะหาสถานประกอบการ เพราะผู้ปกครองคงจะต้องหาสถานประกอบการที่เหมาะสมที่สุดให้กับบุตรหลานของตนเอง
2. ครูประจำแผนกวิชาหรือแต่ละรายวิชา จะต้องช่วยกันเป็นกระบอกเสียงช่วยแจ้งเตือนให้นักเรียน/นักศึกษาทราบอีกครั้งว่า จะมีการฝึกงานช่วงใด ระดับชั้นใด เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเตรียมตัวเพื่อหาสถานประกอบการที่เหมาะสมกับนักเรียน/นักศึกษาเอง ขณะเดียวกันคงจะต้องมีการเรียนการสอนที่สอดแทรกพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตนในสำนักงาน/หน่วยงาน การปฏิบัติงานและปฏิบัติตนร่วมกับผู้อื่น มารยาทที่พึงปฏิบัติ
3. ข้อมูลสถานประกอบการ สถานศึกษาต้องมีข้อมูลเบื้องต้นแจ้งให้กับนักเรียน/นักศึกษาว่ามีหน่วยงาน/บริษัท/สถานประกอบการที่รับนักเรียน/นักศึกษาฝึกงาน โดยเฉพาะในแผนกวิชา จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดเพราะว่า หน่วยงานที่รับนักเรียน/นักศึกษาเข้าฝึกงานส่วนใหญ่จะเคยรับฝึกงานอยู่แล้ว และจะแจ้งความประสงค์ให้กับครูนิเทศทราบว่า ในครั้งต่อไปต้องการ นักเรียน/นักศึกษากี่คน และลักษณะงานจะเป็นอย่างไรข้อมูลคงจะต้องบอกและชี้ให้ชัดเจนว่า ลักษณะหน่วยงานนั้นมีงานที่ค่อนข้างตรงกับสาขาวิชา พร้อมสถานที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ สถานฝึกงานควรไม่ไกลและสะดวกในการเดินทางของนักเรียน/นักศึกษา เพื่อลดปัญหาในการนิเทศ หรือหากสถานประกอบการที่อยู่ไกลแต่มีการติดต่อนักเรียน/นักศึกษา เป็นประจำและเคยช่วยเหลือทางสถานศึกษาโดยเฉพาะประเภทวิชาอุตหกรรม ประเภทวิชาเกษตรกรรม บางสาขาวิชาหรือบางสาขางาน ก็ควรจะต้องสอบถามความสมัครใจและความพร้อมของนักเรียน/นักศึกษาด้วย คงไม่ลืมว่า สถานประกอบการบางแห่งรับนักเรียน/นักศึกษา จากสถานศึกษา/สถาบันอื่นและระดับต่างๆ ดังนั้นการที่นักเรียน/นักศึกษาเริ่มต้นก่อนไปพบเขาก่อน ก็คงเป็นโอกาสดีสำหรับนักเรียน/นักศึกษาเอง นอกจากนี้ข้อมูลสถานที่ฝึกงานจากรุ่นพี่ก็อาจจะอีกทางหนึ่งที่จะให้ข้อมูลที่แท้จริงได้
4. การเตรียมตัวก่อนเข้าพบสถานประกอบการ กรณีนักเรียน/นักศึกษา หาสถานประกอบการเองเมื่อได้ชื่อสถานประกอบการเป้าหมายแล้ว ต้องดูว่าจะไปกันกี่คนถ้าจำนวนมากเกินไปสถานประกอบการคงรับไม่ได้ จำนวนที่เหมาะสมประมาณ 2–3คน ซึ่งคงเตรียมการถูกสัมภาษณ์เบื้องต้นที่นักเรียน/นักศึกษาจะให้ข้อมูลแก่สถานประกอบการว่าจะฝึกงานช่วงใด นักเรียน/นักศึกษาแผนกวิชา ระดับชั้น ระยะเวลาในการฝึกงาน กรณีที่นำรายวิชาไปฝึกจะต้องบอกรายวิชาให้ทราบด้วย มาจากสถานศึกษาพร้อมเบอร์โทรศัพท์

การแต่งกายสวมชุดเครื่องแบบนักเรียน/นักศึกษาประจำสถานศึกษานั้นๆให้เรียบร้อยควรจะบอกกล่าวนักเรียน/นักศึกษาทราบว่าการไปสถานประกอบการถือว่าเป็นการทดลองสัมภาษณ์งานเบื้องต้น การจะนำเสนออย่างไรให้หน่วยงานนั้นๆประทับใจในครั้งแรกที่พบปะ บางครั้งการไปหาสถานประกอบการนักเรียน/นักศึกษา แต่งกายโดยมีเครื่องประดับก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรกระทำ หรือนักเรียน/นักศึกษาชายมักจะไว้ผลยาวมากตามสมัยนิยมและเทรนด์ของ Fashion ยุคนั้น ๆ เรื่องเหล่านี้ควรให้ข้อมูล

การรับการสัมภาษณ์เบื้องต้น ที่นักเรียน/นักศึกษาจะต้องไปนำเสนอให้สถานประกอบการทราบข้อมูลอะไรบ้างที่จำเป็นต้องมี (จากข้อ 3)ที่นักเรียน/นักศึกษาจะตอบสถานประกอบการได้ บุคลิกขณะทำการสัมภาษณ์เบื้องต้นควรทำอย่างไรคงจะต้องบอกและสอน
จำนวนนักเรียน/นักศึกษา การหาสถานประกอบการนักเรียน/นักศึกษามักจะไปจำนวนมากเกินกว่าที่สถานประกอบการจะรับได้ยกเว้นบางสาขาวิชาที่ต้องการนักเรียน/นักศึกษาที่จะไปฝึกงาน ไม่ใช่เป็นการแจ้งชื่อให้ทราบโดยที่ไม่เคยพบปะกับสถานประกอบการมาก่อนและสถานประกอบการควรจะต้องปฏิเสธถ้าไม่สามารถรับนักเรียน/นักศึกษาได้เพราะจะเป็นภาระในการสอนงานหรือให้นักเรียน/นักศึกษาไปนั่งอยู่เฉย ๆ ทำให้ภาพพจน์ของหน่วยของทั้งสองฝ่ายเสียได้
5. เอกสารต่างๆในการเตรียมสำหรับการฝึกงาน นักเรียน/นักศึกษาต้องแจ้งข้อมูลให้งานที่รับผิดชอบทราบเพื่อสถานศึกษาจะได้ทำหนังสือแจ้งสถานประกอบการทราบและยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ข้อมูลเอกสารที่ควรแจ้งให้สถานประกอบการทราบได้แก่
1. ชื่อนักเรียน/นักศึกษา
2. ระดับชั้น ปวช. หรือ ปวส.
3. ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน
4. ระยะเวลาการฝึก
5. งานที่นำไปฝึก จำนวนวิชาหรือจุดประสงค์มาตรฐานวิชาและคำอธิบายรายวิชาหรือแผนการฝึก
6. ชื่อครูที่รับผิดชอบการนิเทศหรือผู้ที่สถานประกอบการสามารถจะติดต่อได้ พร้อมเบอร์โทรศัพท์
7. ตารางการนิเทศ
6. การไปรายงานตัววันแรกของการฝึกงาน นักเรียน/นักศึกษาจะต้องไปก่อนเวลาและเตรียมเอกสารทั้งหมดที่ได้รับจากสถานศึกษา มอบให้กับสถานประกอบการ ซึ่งสถานประกอบการจะจัดเตรียมผู้รับผิดชอบดูแลนักเรียน/นักศึกษาและปฐมนิเทศให้นักเรียน/นักศึกษา สถานศึกษาบางแห่งที่มีจำนวนสถานประกอบการและจำนวนนักเรียน/นักศึกษาไม่มากนัก ครูอาจจจะพานักเรียน/นักศึกษาไปพบสถานประกอบการเอง โดยเฉพาะประเภทวิชาเกษตกรรมซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน/นักศึกษาและได้พบปะกับครูฝึกของสถานประกอบการโดยตรง
7. การนิเทศงานวันแรก สถานประกอบการต้องจัดเตรียมผู้รับผิดชอบและควรบอกรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้ให้กับนักเรียน/นักศึกษา
7.1 เวลาทำงาน การเริ่มปฏิบัติงานเพราะแต่ละงานคงมีเวลาเริ่มปฏิบัติงานที่แตกต่างกันเช่น 8.30, 9.00 ฯลฯ ช่วงพักและเวลาเลิกงาน รวมถึงการลงลายมือชื่อทำงานหรือบางแห่งอาจจะมีเครื่องตอกบัตรเวลาทำงาน ควรแนะนำให้นักเรียน/นักศึกษาทราบ สถานศึกษาบางแห่งอาจจะมีใบลงเวลาทำงานโดยให้ผู้ดูแลเป็นผู้ลงลายมือชื่อกำกับ ซึ่งตรงนี้นักเรียน/นักศึกษามักจะลืมนำไปให้ผู้ควบคุมการฝึก
7.2 แนะนำบุคลากร สถานประกอบการจะต้องยอมสละเวลาในวันแรก ช่วยแนะนำนักเรียน/นักศึกษาให้รู้จักกับบุคลากรที่นักเรียน/นักศึกษาจะต้องเกี่ยวข้องด้วย หรือกรณีที่มีแผนภูมิ บอร์ดการบริหารงานในสำนักงานควรจะให้รู้ว่าใครทำหน้าที่อะไรและแนะนำวิธีการปฏิบัติตนเมื่อพบปะกับบุคคลแต่ละแผนก เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีและมั่นใจให้กับนักเรียน/นักศึกษาที่จะฝึกงาน
7.3 แนะนำสถานที่ พื้นที่งานหรือห้องทำงานที่นักเรียน/นักศึกษาจะเกี่ยวข้องหรือประสานงาน รวมถึงอาคารสถานที่ทั้งหมดหรือบางส่วน สถานที่ทำงานบางแห่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่นักเรียน/นักศึกษา โรงอาหาร ห้องน้ำชาย/หญิง สถานที่บางแห่งที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
7.4 แนะนำงานให้นักเรียน/นักศึกษา งานที่นักเรียน/นักศึกษาจะฝึกได้ครูฝึกควรจะต้องมีการสัมภาษณ์เบื้องต้นว่านักเรียน/นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในสาขางานนั้นมากน้อยอย่างไร คงจะไม่ลืมว่านักเรียน/นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีความรู้บางส่วน แต่ยังไม่มีทักษะในการปฏิบัติงาน หรือกรณีนักเรียน/นักศึกษาบางส่วนที่นำเอารายวิชามาฝึก จะยังไม่มีความรู้และทักษะในงานนั้น แต่จะมาเรียนรู้ในสถานประกอบการโดยถือว่า สถานประกอบการที่ฝึกเป็นสถานศึกษาแห่งหนึ่งด้วย ในระยะแรกครูฝึกจะต้องให้การดูแลสักพักหนึ่ง เมื่อฝึกแล้วจะต้องติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานว่าจะมอบหมายงานใหม่ให้ต่อไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามจะต้องมีการหมุนเวียนการปฏิบัติงานให้กับนักเรียน/นักศึกษาเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดทักษะในงานอาชีพนั้น
7.5 การประพฤติและปฏิบัติตนขณะทำงาน สิ่งที่เราได้รับฟังตอบกลับมายังสถานศึกษาและเป็นปัญหาใหญ่ที่สถานศึกษาจะต้องหาทางแก้ไข คือ ความมีวินัย การตรงต่อเวลา กริยามารยาท รวมไปถึงการประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียน/นักศึกษา ความไม่พร้อมของนักเรียน/นักศึกษาทั้งระดับปวช.และปวส. ระยะห่างของช่วงวัยระหว่างครูฝึกและนักเรียน/นักศึกษาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สถานประกอบการต้องพิจารณา โดยเฉพาะการเคารพนับถือกัน บางครั้งการนิเทศติดตามให้บ่อยขึ้นอาจจะทำให้ทราบปัญหาที่แท้จริงได้ ดังนั้น ในวันแรกของการนิเทศในเรื่องนี้ คงจะเป็นหน้าที่ของสถานประกอบการ ที่จะลืมไม่ได้และเป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดที่จะต้องกล่าวถึงด้วย
8. การบันทึกการฝึกงาน สิ่งที่เป็นความรู้ใหม่หรือทักษะที่เพิ่มขึ้น ต้องบันทึกให้ละเอียด การแนะนำในการบันทึกการฝึกงานควรมีการปรับเปลี่ยนสำหรับบางสถานศึกษาที่ให้บันทึกเฉพาะชิ้นงานซ้ำ ๆรวมถึงการนิเทศของครู ต้องถือว่าเรื่องนี้จะต้องแนะนำให้ถูกต้องเพราะกรณีการนำรายวิชาไปฝึกงาน ครูนิเทศจะเห็นเนื้อในของงานว่าจะสอดคล้องกับงานวิชานั้นๆมากน้อยเพียงไร เพื่อจะได้นำข้อมูลนี้มาจัดระบบหรือจัดแผนการเรียนในครั้งต่อไป

ข้อพึงปฏิบัติข้างต้นเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรามักจะลืมไปว่า ไม่เฉพาะคนในองค์กรนี้เท่านั้น คนนอกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเราย่อมมีบทบาทและนำมาพิจารณาทุกครั้ง ทั้งการที่จะมีการฝึกงานระหว่างภาคเรียนปกติ ภาคฤดูร้อน การนำรายวิชาไปฝึก การนำวิชาการฝึกงาน (ปวช. 2000-7001, ปวส.3000-7001)ไปฝึก คงจะต้องตระหนักว่าการฝึกงานเป็นสิ่งที่ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาตลอดไป ดังนั้น การเตรียมพร้อมวันนี้ได้ข้อมูลวันนี้เพื่อจะพัฒนาให้ดีขึ้นในวันหน้า เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายไม่ควรมอง
ข้อปฏิบัติของนักศึกษาในระหว่างฝึกงาน
1.เวลาในการทำงานควรมาก่อนและกลับทีหลัง มีสัมมาคารวะ การพูดจาควรมีหางเสียง
2.ในการทำงาน เราควรปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ให้ได้ ทำงานให้ทันตามกำหนด
3.การขาดงานหรือการลาไม่ควรเกิน3-5วันและต้องมีใบลาให้กับพี่เลี้ยงหรือโทรศัพท์แจ้งหน่วยงาน
4.กรณีที่ขาดหรือลามากกว่าเนื่องจากมีเหตุจำเป็นเช่นเป็นนักกีฬาจะต้องมีใบแจ้งแล้วหาเวลาไปฝึกเพิ่มเติม
5.ระยะเวลาการฝึกงาน บางหน่วยงานอาจมีวันทำงานไม่เหมือนกัน เช่น บางหน่วยงานให้ฝึกงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และบางหน่วยงานให้ฝึกวันจันทร์ถึงวันเสาร์ การฝึกงานจะเริ่มต้นและสิ้นสุดตามกำหนดวันฝึกงานเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เริ่มฝึกงานตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม จนถึงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ก็ต้องมาฝึกจนครบตามกำหนดระยะเวลา

กรณีที่เกิดปัญหาระหว่างฝึกงาน นักศึกษาสามารถปรึกษาอาจารย์ประจำวิชาได้โดยตรง
· โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปรึกษาอาจารย์เจนจิรา ปาทาน
· โปรแกรมวิชาการตลาด บริหารทรัพยากรฯและการจัดการทั่วไป ปรึกษาอาจารย์บังอร สุขจันทร์
· โปรแกรมวิชาบัญชี ปรึกษาอาจารย์นารีรัตน์ กว้างขวาง
· โปรแกรมสถิติ ออกแบบผลิตภัณฑ์ นิเทศศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ปรึกษาอาจารย์ศุภศักดิ์
· โปรแกรมภาษา ปรึกษาอาจารย์จรูญ แช่มชื่น
· โปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ ปรึกษาอาจารย์ลือศักดิ์ แสวงมี และอาจารย์สุเทวี
· แก้ปัญหาการฝึกงาน หัวหน้างานคือ อาจารย์เพ็ญลักษณ์ อ่อนทรวง
เมื่อฝึกงานแล้วไม่อนุญาตให้ย้ายหน่วยงาน ยกเว้นกรณีถูกลวนลามหรือกรณีที่จำเป็นจริงๆ

การนิเทศนักศึกษา
การนิเทศนักศึกษาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1.การไปนิเทศนักศึกษาที่หน่วยงาน มีการสอบถามพี่เลี้ยง/นักศึกษา
2.การนิเทศนักศึกษาทางโทรศัพท์(กรณีอยู่ต่างจังหวัด) มีการสอบถามพี่เลี้ยง/นักศึกษา
· กรณีอาจารย์ไม่ไปนิเทศ ให้หัวหน้าห้องรวบรวมรายชื่อนักศึกษาของแต่ละโปรแกรมส่งที่ศูนย์ฝึกฯ
· กำหนดเวลาการนิเทศอาจารย์ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องภายในระยะเวลาของการฝึกงาน
3.เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน หัวหน้าห้องรวบรวมสมุดคู่มือ ส่งที่อาจารย์ประจำวิชา

ข้อปฏิบัติของอาจารย์นิเทศก์ที่นักศึกษาควรรู้
1.อาจารย์นิเทศก์จะสอบถามข้อมูลของนักศึกษากับพี่เลี้ยงหรืออาจขอดูรายละเอียดที่สมุดคู่มือฝึกประสบการณ์
2.สิ่งที่อาจารย์นิเทศจะถามก็คือ
· นักศึกษาฝึกงานเป็นอย่างไรบ้าง ทำอะไรให้กับหน่วยงานบ้าง ในการทำงานมีปัญหาอะไรบ้างไหมฯลฯ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://training.sskru.ac.th
ขั้นตอนการสมัครงาน
การสมัครงานเหมือนกับการไปเสนอขายสินค้าซึ่งจำเป็นจะต้องเตรียมตัวให้ดีและการเตรียมตัวก่อนสมัครงานเป็นสิ่งจำเป็น จะต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนจบการศึกษาซึ่งในแต่ละปี แต่ละสถาบันจะมีผู้จบการศึกษาทั่วประเทศรวมกันแล้วประมาณแสนๆคนและรวมกับผู้ที่ตกค้างจากปีก่อนๆที่ยังไม่ได้งานทำมี อีกมาก และความเชื่อที่ว่าเรียนเก่งหรือเรียนดีแล้วจะหางานง่ายนั้นอาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป ซึ่งในยุคปัจจุบันการรับคนเข้าทำงานในทุกวันนี้จะพิจารณาสิ่งอื่นๆประกอบด้วยเช่นบุคลิกภาพความคล่องตัวความอดทน ความเป็นคนมีปฏิภาณ ไหวพริบ การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆในการหางาน ทำหรือสมัครงาน จึงเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดีและควรทำเข้าทำนองที่ว่า“ฟอร์มดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”ซึ่งการไปหางานหรือการไปสมัครงานเปรียบ เสมือนกับคุณเป็นเซลล์แมน หรือเซลล์วูแมน ที่จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน โดย คุณจำเป็นจะต้องมีเทคนิค วิธีการต่างๆ ที่ทำให้ผู้ซื้อสินค้า(นายจ้าง)พร้อมที่อยากจะได้สินค้า(ตัวคุณ) เอาไว้ถ้าคุณทำได้โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จในการหางานทำมีมากดังนั้นถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ต้องการตกอยู่ในสถานการณ์ว่า “ตกงาน”ก่อนหางานทำ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้
1. ค้นพบตัวเองให้ชัดเจน
2. ติดตามข่าวสาร
3.การมองหาแหล่งงานซึ่งเมื่อคุณทราบในประเด็นหัวข้อใหญ่ๆแล้วเรามาดูในแต่ละหัวข้อมีวิธีการเทคนิคอย่างไรบ้าง
1. ค้นพบตัวเองให้ชัดเจนทำไมจึงต้องมีการรู้จักตนเองก็เพราะการหางานคือการ“ขาย”ตนเองชนิดหนึ่งเป็นการเสนอขายความรู้ความสามารถของตัวเราเองให้แก่บริษัท หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งนั่นเอง ใครขายเก่งหรือมีศิลปะในการขายสามารถทำให้ผู้ซื้อเกิดความรู้สึกอยากได้ “สินค้า”ชนิดนี้ก็จะได้งานไปทำแต่การที่จะ ขายของอะไรได้นั้น เราจำเป็นจะต้องรู้คุณภาพสินค้าเสียก่อน (รู้จักตัวเราเอง) เราจึงจะขายให้ใครเขาได้ ถ้าเราไม่รู้แม้กระทั่งสินค้านั้นมี คุณภาพอย่างไร มีจุดเด่นอะไร อยู่ตรงไหน ใช้แล้วได้ประโยชน์อะไร ใครเขาจะมาซื้อ(นายจ้าง)ดังนั้นการสมัครงานก็เช่นกันถ้าคุณไม่รู้แม้กระทั่งว่าในตัวคุณมีจุดเด่น ความรู้ ความสามารถ ฯลฯหรือพูดง่ายๆว่าคุณเก่งทางด้านไหน และคุณจะไปโน้มน้าวให้คนอื่นเขามาชื่นชม และต้องการคุณได้อย่างไร
ขั้นตอนแห่งค้นพบตัวเอง
1.การค้นหาทักษะ (Skills)เป็นความสามารถที่ต้องมีและเป็นรากฐานในการทำงานทุกชนิดไม่มีงานชนิดไหนที่ไม่ต้องใช้ทักษะ โดยทักษะ จะแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
(1) ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการขับรถ พูดภาษาต่างประเทศ
(2) ทักษะที่ติดตัวที่ติดตัวเรามาและสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่น การวาดรูป ร้องเพลง
(3) ทักษะที่ได้จากสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นบ้านที่ทำงานโรงเรียนเช่นทักษะการเข้ากลุ่มเพื่อนทักษะการเป็นผู้นำซึ่งในงานแต่ละชนิดเมื่อจำแนกหน้าที่ของงานออกแล้วจะต้องประกอบด้วยกิจกรรมหลายอย่าง ซึ่งแต่ละ กิจกรรมก็จะประกอบไปด้วยทักษะมากมายเช่นอาชีพครูมีกิจกรรมทางด้านการสอนบริหารค้นคว้า ทักษะมีทั้งการพูด การออกคำสั่งการฟังการแสดงออก และการเขียน
2. การสำรวจจุดเด่นของตนเองจุดเด่นของคุณมีผลต่อการหางานมากพอๆกับทักษะจุดเด่นนี้เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพที่ทุกคนมีงานทุกชนิดต้องการคนที่มีบุคลิกบางอย่างที่เด่นเป็นเฉพาะเช่นงานประชาสัมพันธ์ คุณควรมีบุคลิกภาพที่เขากับคนง่ายรู้จักจัดการเกี่ยวกับคนหรือพนักงานบัญชี คุณก็ควรมีบุคลิกภาพที่ละเอียดรอบคอบ เป็นต้น
3.สำรวจความสัมฤทธิ์ผลทั่วไปความสัมฤทธิ์ผลนี้คือเป็นความรู้สึกประทับใจความสำเร็จไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดๆก็ตามโดยให้นึกถึงสิ่งที่คุณทำแล้วสำเร็จและประทับใจเหล่านั้นมาสัก4-5เรื่องและเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นผลสัมฤทธิ์ของคุณ และนำมาเขียนเป็นผลสรุปของคุณเก็บไว้เป็นข้อมูลไว้เป็นองค์ประกอบในการสมัครงานด้านหนึ่ง
4. สำรวจความชอบ/ไม่ชอบเป็น ขั้นตอนของการลองกลับไปคิดทบทวนใหม่อีกครั้งถึงประสบการณ์สมัยอยู่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย หรือช่วงชีวิตที่ผ่านมามีอะไรที่เกิดขึ้นใน ช่วงเหล่า นั้น ที่คุณชอบและไม่ชอบใจบ้างไหม เช่นคุณอาจจะจำครูที่ดุอย่างขาดเหตุผล คุณแม่ที่เคร่งครัดและเจ้าระเบียบ เพื่อนที่เจ้าอารมณ์ ขอให้จำบุคลิกลักษณะของบุคคลที่คุณไม่ชอบนี้ไว้ด้วย คุณจะได้รู้ว่าบุคคลประเภทใดที่คุณอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข
5. สำรวจขีดจำกัดคนเราทุกคนไม่มีความสมบูรณ์ดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง ทุกคนต้องมีข้อบกพร่อง ซึ่งมันอาจเป็นจุดอ่อนที่ยังแฝงอยู่ในบุคลิกภาพของคุณในปัจจุบัน จุดอ่อนที่จะ เป็นตัวขัดขวางทำให้คุณไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรโดยคุณจะต้องพยายามทำความรู้จักกับทุกส่วนของบุคลิกคุณอย่างแท้จริง และนำมาเป็น จุดแก้ไข ปรับปรุง หรือเป็นข้อควรระวัง เพื่อคุณจะไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ เช่น คุณอาจเป็นคนที่มีความคิดอ่านที่ดีสมัยอยู่โรงเรียนมัธยมแต่คุณมักไม่กล้าแสดงตัวหรือแสดงความคิดเห็นให้ ปรากฏทำให้คนอื่นรับหน้าที่แทนคุณไป แสดงว่าคุณมีจุดอ่อน คือขาดความกล้าหรือไม่มีลักษณะเป็นผู้นำ คุณก็นำข้อนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาหรือถ้าไม่ไหวจะเป็นผู้นำก็ต้องหางานในตำแหน่งที่ไม่ ต้องแสดงความเป็นผู้นำ ดังกล่าว
6. สำรวจค่านิยมค่านิยมคือสิ่งที่เรายึดถือว่าดีงามสมควรปฏิบัติ เช่น ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความปลอดภัย ความเสียสละซึ่งถ้าคุณคิดเพียงว่าแต่ขอให้ได้งานโดยไม่ตระหนักถึงค่านิยมของตัวเองและธรรมชาติของงานการทำงานนั้นก็จะไม่ได้รับความสุขกับการทำงาน และทำให้ต้องเข้า ๆออกๆ หางาน ใหม่อยู่ตลอดเวลาดังนั้นการรู้จักค่านิยมของตัวเองจึงเป็นหัวใจสำคัญอีกด้านหนึ่งในการทำงานเพื่อ ความสุขของชีวิต
7. สำรวจความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่นการทำงานทุกชนิดต้องสัมพันธ์กับคนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละตำแหน่งงาน ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องเข้าใจคือ เราต้องอยู่กับคนไปตลอดชีวิตการเข้าใจความสัมพันธ์ที่มีต่อกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกัน และทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
8.สำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงานสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่นี้ก็คือสถานที่ตั้งของหน่วยงานเช่นใกล้-ไกล การคมนาคม ต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ สภาพมลภาวะต่างๆ ลักษณะงาน ซึ่งคุณจะต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับความต้องการให้เข้ากับสิ่งที่คุณได้ ตามสมควร
9. ความต้องการเกี่ยวกับเงินเดือนไม่ว่าตัวผู้สมัครงานจะมีประสบการณ์หรือไม่มีประสบการณ์ก็ตาม การเรียกร้องเงินเดือนเท่าใดนั้น คุณควรจะต้องไปทำการค้นคว้าว่าโดยทั่ว ๆไปบุคคลที่จบการศึกษาระดับเดียวกันกับคุณหรือผู้ที่ทางบริษัทที่รับเข้ามาในตำแหน่งที่คล้ายกับที่คุณสมัครนั้นเขาได้รับเงินเดือนประมาณเท่าใด ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าเป็นงานราชการเงินเดือนจะต้องเป็นไปตามวุฒิที่ทางการกำหนดไม่มีการต่อรอง แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจอาจมีอัตราการจ่ายเงินที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาด ความมั่นคงของบริษัท และระบบการบริหารของบริษัท
2. การติดตามข่าวสารสิ่ง ที่คนหางานจะต้องตระหนักก่อนสิ่งอื่นใดก็คือ คุณจะต้องมีความกระตือรือร้นขวนขวายหา ข่าวสารด้วยความสนใจอย่างจริงจัง เพราะช่วงเวลา ของการโฆษณารับสมัครงานของแต่ละองค์กรล้วนมีระยะเวลาจำกัด บางองค์กรก็จะระบุวันหมด เขตรับสมัครเอาไว้ ทำให้เมื่อวันเวลาผ่านไปโอกาสในการ สมัครงานแล้วได้รับการคัดเลือกไปสัมภาษณ์ย่อมน้อยลงด้วย เนื่องจากในแต่ละปีมีบัณฑิตจบใหม่จากสถานศึกษา ที่ผลิตออกมาอย่างไม่ขาดสายด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องขวนขวายที่จะหาข้อมูลข่าวสารการรับสมัครงานให้มากที่สุดเมื่อคุณได้ข่าวสารการรับสมัครงานและคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสมัครได้ รวมทั้งคุณพอใจที่จะ ทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ คุณก็ควรจะสมัครให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องรีรอทั้ง ๆที่คุณมีความพร้อมในเรื่องเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการสมัครงานตามที่ระบุไว้ตรงกันข้ามกลับเป็นผลดีกับตัวคุณเสียอีก เพราะองค์กรที่รับ สมัครงานจะเห็นความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่น และความต้องการทำงานของคุณอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้รับสมัครพึงพอใจที่คุณให้ความสนใจกับองค์กรนั้นมากกว่าผู้สมัคร รายอื่น ๆ ที่รอจนเกือบ หมดเขตรับสมัครแล้วจึงค่อยไปสมัคร นอกจากนั้น การส่งใบสมัคร ไปตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้คุณมีข้อได้เปรียบกว่าคนอื่นในกรณีที่คุณส่งใบสมัครไปทางไปรษณีย์แล้ว เกิดความล่าช้าก็อาจเป็นไปได้ว่า ใบสมัครงานหรือจดหมายสมัครงานของคุณไปถึงที่หมายภายหลังหมดเขครับสมัครงานโอกาสที่คุณจะได้งานก็จะลดลงตามไปด้วยคุณทราบหรือไม่ว่ามีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการสมัครงานแนะ นำว่า คนเราถ้าทำงานออฟฟิศเราจะ ต้อง ใช้ เวลาทำงานอยู่ในออฟฟิศถึงวันละ 7-8ชั่วโมงเพราะฉะนั้นคุณก็ควรจะสมัครงานด้วยจดหมาย สมัครงาน หรือกรอกแบบฟอร์มการสมัครงานและส่งใบสมัครงานให้ได้อย่างน้อยชั่วโมงละ 1 ราย หรือวันละ 7 -8 รายในตำแหน่งงานที่คุณมีคุณสมบัติ ครบถ้วนและมั่นใจว่าคุณพอใจจะทำงานในตำแหน่งนั้นๆ ถ้าคุณได้รับการคัดเลือกโอกาสที่จะได้งานของคุณย่อมมีสูงกว่าคนที่สมัครงานนาน ๆ ครั้งหนึ่ง แล้วก็คอยอยู่เฉยๆ จนกว่าจะรู้ว่าไม่มีหวังเสียแล้ว จึงค่อยลุกขึ้น แสวงหาข่าวสารรับสมัครงาน แล้วก็เริ่มหาหลักฐานใหม่ส่งใบสมัครหรือจดหมายสมัครงานไปอีกครั้งแล้วก็รอคอยการเรียกไปสัมภาษณ์คุณจะต้องไม่ลืมว่าคู่แข่งของคุณมีมากขึ้นทุกวัน แม้แต่วันเดียวก็เถอะถ้าคิดเป็นชั่วโมงอีกล่ะ และอย่าลืมว่าคู่แข่งขันของคุณจำนวนมากมีคุณสมบัติทุกอย่างเหมือนที่คุณมีตามเอกสารหลักฐานด้วยกันทั้งนั้นดังนั้นในระหว่างที่กำลังหางานทำ คุณจึงควรมีเอกสารที่ใช้สำหรับการสมัครงานไว้ให้พร้อมและทำสำเนาเอาไว้หลาย ชุดจะได้ไม่ต้องเสีย เวลาหาหลักฐานถ้าใครขยันแสวงหาแหล่งรับสมัครงานได้มากกว่าคนอื่น ๆ เอาแค่ขยันสมัครงานได้วันละ 4-5แห่งเท่านั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ในการ หางานของคุณก็มีมาก
3. มองหาแหล่งงานโดย ทั่วๆไป หนทางที่จะเริ่มมองหาแหล่งงานได้นั้นมีหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่สื่อมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่คุณจะหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรที่เปิดรับสมัครงาน ซึ่งคุณอาจจะเลือกดูได้จากแหล่งต่างๆเหล่านี้ คือ
1.สื่อสิ่งพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ เป็นสื่อที่คนต้องการหางานทำมักจะมองหาเป็นอันดับแรกโดยสื่อดังกล่าวอาจจะมาในรูปของนิตยสารรายสัปดาห์ที่ลงข่าวสารเกี่ยวกับการรับสมัครงานโดยเฉพาะ เช่น นิตยสารงานวันนี้ Smart Jobหางานหาง่าย หรือมาในรูปของหนังสือพิมพ์ที่ลงโฆษณา รับสมัครงานโดยเฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์แหล่งงาน งานทั่วไทยนอกจากนี้ยังมีในรูปแบบของSection Classified ที่แทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์รายวันเช่นโลกวันนี้The Nation Bangkok Post โดยสื่อเหล่านี้จะมีข่าวสารเกี่ยวกับการ เปิดรับสมัครงานใหม่ ๆอยู่เสมอนอกจากโฆษณา รับสมัครงานแล้ว ยังมีบทความต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวข้องกับการสมัครงานที่น่าสนใจอีกด้วยเรียกว่าถ้าคุณต้องการหางานสื่อสิ่งพิมพ์มีประโยชน์ต่อคุณมากทีเดียว
2. สื่ออินเตอร์เน็ตในโลกยุคปัจจุบันสื่ออินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการหางานโดยผู้สมัครงานสามารถเข้าไปค้นหาตำแหน่งงานที่ต้องการได้จากเว็บไซต์หางานต่างๆที่มีอยู่มากมายนอกจากจะได้ปริมาณตำแหน่งงานที่มากแล้ว เว็บไซต์เหล่านี้ยังให้ประโยชน์ในเรื่องอื่นๆอีกเช่นมีบทความเกี่ยว กับเทคนิคการ สมัครงาน มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนใบสมัคร และ Resume แถมยังส่งใบสมัครและResume ไปให้กับองค์กรทางอีเมล์ได้ทันทีอีกด้วยนับว่าเป็นวิธีการที่สะดวกและได้ผลดีไม่แพ้วิธีการอื่นเลยแต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างว่าในประเทศไทยนั้นสื่ออินเตอร์เน็ตยังไม่ใช่สื่อหลักที่ใช้กันอย่างแพร ่หลายการสมัครงานทางเว็บไซต์นั้นจึงมีข้อจำกัดที่ว่าข้อมูลของคุณอาจไปไม่ถึงผู้รับสมัครเพราะว่าบางบริษัทแม้ว่าจะลงรับสมัครทางอินเตอร์เน็ตแต่อาจจะไม่ได้นำข้อมูลของผู้ที่สมัครงานทางอินเตอร์เน็ตมาพิจารณาหรือบางครั้งก็มีความผิดพลาดทางเทคนิคทำให้ใบสมัครของคุณไม่สามารถส่งไปถึงผู้รับปลายทางได้แต่อย่างไรก็ดีสื่ออินเตอร์เน็ตก็ถือเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบันเราจึงได้รวบรวมเว็บไซด์เหล่านั้นไว้ให้คุณเพื่อเป็นอีกช่องทางในการสมัครงานของคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น